วัดตรีวิสุทธิธรรม

D



 
ตารางจัดรายการชั่วคราว
 
  1. เวลา  16-18.00 น. จัดรายการโดย DJ แอน สดจากเกาหลีใต้ ทุกวัน

FM89.35Mhz






ตารางออกอากาศประจำวันคลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

รายการประจำวันจันทร์ พ.ศ. 2555




คลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี





04.00--05.00 น.


เปิดสถานีและทำวัตรเช้า

06.00--07.00 น.


รายการ ธรรมะรับอรุณ


07.00--07.30 น.


รายการ แนวการเจริญวิปัสสนา โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์


07.30--08.00 น.


รายการ นิทานชาดก


08.00--09.00 น.


รายการ เพื่องานพระอาจารย์ใหญ่ (ฤษีดัดตน)


09.00--10.00 น.


รายการ ประวัติพุทธสาวกหรือนิทานธรรม


10.00--11.00 น.


รายการ นิทานธรรมะ


11.00--12.00 น.


รายการ ธรรมนิยาย ชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


12.00--12.30 น.


รายการ ถ่ายทอดข่าวจากสถานิวิทยุแห่งประเทศไทยกรมประชาสัมพันธ์


12.30--13.00 น.


รายการ 89.35 ข่าวประชาสัมพันธ์


13.00--14.00 น.


รายการ อีสานปริทัศน์ โดยพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ


14.00--15.00 น.


รายการ เสียงธรรมจากวัดตรีวิสุทธิธรรม โดย สุวรรณโณ ภิกขุ


15.00--16.00 น.


รายการ ธรรมะกับชีวิต โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)


16.00--17.00 น.


รายการ เสียงอ่านหนังสือธรรมะต่างๆ


17.00--18.00 น.


รายการ ธรรมะมองโลก โดย พระธรรมโกศาจารย์


18.00--19.00 น.


รายการ กรรมกำหนดนิทานธรรมะ


19.00--23.30 น.


รายการ ทำวัตรสวดมนต์เย็นและสวดพระปริตร และสวดอิติปิโส 108 จบ





ปิดสถานี ราตรีสวัสดิ์


ตารางออกอากาศ คลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

รายการประจำวันอังคาร พ.ศ. 2555




คลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี





04.00--05.00 น.


เปิดสถานีและทำวัตรเช้า

06.00--07.00 น.


รายการ ธรรมะรับอรุณ


07.00--07.30 น.


รายการ แนวการเจริญวิปัสสนา โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์


07.30--08.00 น.


รายการ นิทานชาดก


08.00--09.00 น.


รายการ เพื่องานพระอาจารย์ใหญ่ ( ตอบปัญหาสุขภาพโดย คุณปุ้ย)


09.00--10.00 น.


รายการ ประวัติพุทธสาวกหรือนิทานธรรม


10.00--11.00 น.


รายการ กรรมกำหนดหรือนิทานธรรมะ


11.00--12.00 น.


รายการ ธรรมนิยาย ชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


12.00--12.30 น.


รายการ ถ่ายทอดข่าวจากสถานิวิทยุแห่งประเทศไทยกรมประชาสัมพันธ์


12.30--13.00 น.


รายการ 89.35 ข่าวประชาสัมพันธ์ โดยทีมข่าววัดตรี


13.00--14.00 น.


รายการ อีสานปริทัศน์ โดยพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ


14.00--15.00 น.


รายการ เสียงธรรมจากวัดตรีวิสุทธิธรรม โดย สุวรรณโณภิกขุ


15.00--16.00 น.


รายการ ธรรมะกับชีวิต โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)


16.00--17.00 น.


รายการ เสียงอ่านหนังสือธรรมะต่างๆ


17.00--18.00 น.


รายการ ธรรมะมองโลก โดย พระธรรมโกศาจารย์


18.00--19.00 น.


รายการ เสียงหนังสือหรือนิทานธรรมะ


19.00--23.30 น.


รายการ ทำวัตรสวดมนต์เย็นและสวดพระปริตร และสวดอิติปิโส 108 จบ





ปิดสถานี ราตรีสวัสดิ์
ตารางออกอากาศคลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

รายการประจำวันพุธ พ.ศ. 2553




คลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี





04.00--05.00 น.


เปิดสถานีและทำวัตรเช้า

06.00--07.00 น.


รายการ ตามรอยครูตามรอยธรรม


07.00--07.30 น.


รายการ แนวการเจริญวิปัสสนา โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์


07.30--08.00 น.


รายการ นิทานชาดก


08.00--09.00 น.


รายการ เพื่องานพระอาจารย์ใหญ่ (สมุนไพรใกล้ตัว)


09.00--10.00 น.


รายการ ประวัติพุทธสาวกหรือนิทานธรรม


10.00--11.00 น.


รายการ กรรมกำหนดหรือนิทานธรรมะ


11.00--12.00 น.


รายการ ธรรมนิยาย ชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


12.00--12.30 น.


รายการ ถ่ายทอดข่าวจากสถานิวิทยุแห่งประเทศไทยกรมประชาสัมพันธ์


12.30--13.00 น.


รายการ 89.35 ข่าวประชาสัมพันธ์ โดยทีมงานอ.เจี๊ยบ


13.00--14.00 น.


รายการ อีสานปริทัศน์ โดยพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ


14.00--15.00 น.


รายการ การรักษาโรคแบบองค์รวม


15.00--16.00 น.


รายการ ธรรมะกับชีวิต โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)


16.00--17.00 น.


รายการ เสียงอ่านหนังสือธรรมะต่างๆ


17.00--18.00 น.


รายการ ธรรมะสู่ทางพ้นทุกข์


18.00--19.00 น.


รายการ เสียงหนังสือหรือนิทานธรรมะ


19.00--23.30 น.


รายการ ทำวัตรสวดมนต์เย็นและสวดพระปริตร และสวดอิติปิโส 108 จบ





ปิดสถานี ราตรีสวัสดิ์


ตารางออกอากาศคลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

รายการประจำวันพฤหัสบดี




คลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี





04.00--05.00 น.


เปิดสถานีและทำวัตรเช้า

06.00--07.00 น.


รายการ ตามรอยครูตามรอยธรรม


07.00--07.30 น.


รายการ แนวการเจริญวิปัสสนา โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์


07.30--08.00 น.


รายการ นิทานชาดก


08.00--09.00 น.


รายการ เพื่องานพระอาจารย์ใหญ่ (กินอย่างไรไร้โรค)


09.00--10.00 น.


รายการ การปฏิบัติธรรมที่วัดป่าสระกระโจม


10.00--11.00 น.


รายการ กรรมกำหนดหรือนิทานธรรมะ


11.00--12.00 น.


รายการ ธรรมนิยาย ชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


12.00--12.30 น.


รายการ ถ่ายทอดข่าวจากสถานิวิทยุแห่งประเทศไทยกรมประชาสัมพันธ์


12.30--13.00 น.


รายการ 89.35 ข่าวประชาสัมพันธ์


13.00--14.00 น.


รายการ อีสานปริทัศน์ โดยพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ


14.00--15.00 น.


รายการ เสียงธรรมจากวัดตรีวิสุทธิธรรม


15.00--16.00 น.


รายการ ธรรมะกับชีวิต โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)


16.00--17.00 น.


รายการ เสียงอ่านหนังสือธรรมะต่างๆ


17.00--18.00 น.


รายการ ธรรมะมองโลก โดย พระธรรมโกศาจารย์


18.00--19.00 น.


รายการ เสียงหนังสือหรือนิทานธรรมะ


19.00--23.30 น.


รายการ ทำวัตรสวดมนต์เย็นและสวดพระปริตร และสวดอิติปิโส 108 จบ





ปิดสถานี ราตรีสวัสดิ์

ตารางออกอากาศคลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

รายการประจำศุกร์




คลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี





04.00--05.00 น.


เปิดสถานีและทำวัตรเช้า

06.00--07.00 น.


รายการ ตามรอยครูตามรอยธรรม


07.00--07.30 น.


รายการ แนวการเจริญวิปัสสนา โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์


07.30--08.00 น.


รายการ นิทานชาดก


08.00--09.00 น.


รายการ เพื่องานพระอาจารย์ใหญ่


09.00--10.00 น.


รายการ ประวัติพุทธสาวกหรือนิทานธรรม


10.00--11.00 น.


รายการ กรรมกำหนดหรือนิทานธรรมะ


11.00--12.00 น.


รายการ ธรรมนิยาย ชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


12.00--12.30 น.


รายการ ถ่ายทอดข่าวจากสถานิวิทยุแห่งประเทศไทยกรมประชาสัมพันธ์


12.30--13.00 น.


รายการ 89.35 ข่าวประชาสัมพันธ์


13.00--14.00 น.


รายการ อีสานปริทัศน์ โดยพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ


14.00--15.00 น.


รายการ เสียงธรรมจากวัดตรีวิสุทธิธรรม


15.00--16.00 น.


รายการ ธรรมะกับชีวิต โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)


16.00--17.00 น.


รายการ เสียงอ่านหนังสือธรรมะต่างๆ


17.00--18.00 น.


รายการ ธรรมะมองโลก โดย พระธรรมโกศาจารย์


18.00--19.00 น.


รายการ เสียงหนังสือหรือนิทานธรรมะ


19.00--23.30 น.


รายการ ทำวัตรสวดมนต์เย็นและสวดพระปริตร และสวดอิติปิโส 108 จบ





ปิดสถานี ราตรีสวัสดิ์
ตารางออกอากาศคลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

รายการประจำเสาร์




คลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี





04.00--05.00 น.


เปิดสถานีและทำวัตรเช้า

06.00--07.00 น.


รายการ ธรรมรับอรุณ และ ตามรอยครูตามรอยธรรม


07.00--07.30 น.


รายการ แนวการเจริญวิปัสสนา โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์


07.30--08.00 น.


รายการ นิทานชาดก


08.00--09.00 น.


รายการ เพื่องานพระอาจารย์ใหญ่


09.00--10.00 น.


รายการ ประวัติพุทธสาวกหรือนิทานธรรม


10.00--11.00 น.


รายการ กรรมกำหนดหรือนิทานธรรมะ


11.00--12.00 น.


รายการ ธรรมนิยาย ชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


12.00--12.30 น.


รายการ ถ่ายทอดข่าวจากสถานิวิทยุแห่งประเทศไทยกรมประชาสัมพันธ์


12.30--13.00 น.


รายการ 89.35 ข่าวประชาสัมพันธ์


13.00--14.00 น.


รายการ อีสานปริทัศน์ โดยพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ


14.00--15.00 น.


รายการ เสียงธรรมจากวัดตรีวิสุทธิธรรม


15.00--16.00 น.


รายการ ธรรมะกับชีวิต โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)


16.00--17.00 น.


รายการ เสียงอ่านหนังสือธรรมะต่างๆ


17.00--18.00 น.


รายการ ธรรมะมองโลก โดย พระธรรมโกศาจารย์


18.00--19.00 น.


รายการ เสียงหนังสือหรือนิทานธรรมะ


19.00--23.30 น.


รายการ ทำวัตรสวดมนต์เย็นและสวดพระปริตร และสวดอิติปิโส 108 จบ





ปิดสถานี ราตรีสวัสดิ์
ตารางออกอากาศ

รายการประจำอาทิตย์




คลื่นพิทักษ์ศาสนวงศ์ FM 89.35 Mhz วัดตรีวิสุทธิธรรม ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี





04.00--05.00 น.


เปิดสถานีและทำวัตรเช้า

06.00--07.00 น.


รายการ ธรรมรับอรุณ และ ตามรอยครูตามรอยธรรม


07.00--07.30 น.


รายการ แนวการเจริญวิปัสสนา โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์


07.30--08.00 น.


รายการ นิทานชาดก


08.00--09.00 น.


รายการ เพื่องานพระอาจารย์ใหญ่


09.00--10.00 น.


รายการ ประวัติพุทธสาวกหรือนิทานธรรม


10.00--11.00 น.


รายการ กรรมกำหนดหรือนิทานธรรมะ


11.00--12.00 น.


รายการ ธรรมนิยาย ชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


12.00--12.30 น.


รายการ ถ่ายทอดข่าวจากสถานิวิทยุแห่งประเทศไทยกรมประชาสัมพันธ์


12.30--13.00 น.


รายการ 89.35 ข่าวประชาสัมพันธ์


13.00--14.00 น.


รายการ อีสานปริทัศน์ โดยพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ


14.00--15.00 น.


รายการ เสียงธรรมจากวัดตรีวิสุทธิธรรม


15.00--16.00 น.


รายการ ธรรมะกับชีวิต โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)


16.00--17.00 น.


รายการ เสียงอ่านหนังสือธรรมะต่างๆ


17.00--18.00 น.


รายการ ธรรมะมองโลก โดย พระธรรมโกศาจารย์


18.00--19.00 น.


รายการ เสียงหนังสือหรือนิทานธรรมะ


19.00--23.30 น.


รายการ ทำวัตรสวดมนต์เย็นและสวดพระปริตร และสวดอิติปิโส 108 จบ





ปิดสถานี ราตรีสวัสดิ์


วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

ทำบุญอย่างไรให้ได้แฟนหน้าตาดีby akkarakitt


imagesCAW5ODTBข้าพเจ้าเขียนเรื่องเกี่ยวกับ "ทาน" มาเป็นหลายเรื่องแล้ว เนื้อหาก็วนเวียนซ้ำ ๆ ซาก ๆ ทว่า ก็ยังมีผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องของ "ทาน" อันเป็นบุญกิริยาวัตถุขั้นเบสิค พื้นฐานที่สุด ยิ่งเขียนเรื่องศีล ก็ยิ่งแล้วใหญ่ อย่าเพิ่งไปถึงภาวนาเลยครับ มาปูพื้นฐานกันให้แน่นหนาเสียก่อน จะได้ต่อยอดขึ้นไปแล้ว ไม่ไปคว่ำกลางทาง หรือขึ้นสูงถึงยอดหอไอเฟิ่ลแล้ว พังครืน เพราะน็อตที่ฐานไม่แน่นแค่ตัวเดียว



วันนี้ลองมาทำความเข้าใจกับเรื่องกฏแห่งกรรมสักเล็กน้อย ความจริงเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นเรื่องอจินไตย หนึ่งในสี่เรื่อง หมายถึง เรื่องไม่ควรคิด ๔ ประการ นั่นคือ วิสัยของผู้ได้ฌาน ๑, วิสัยของพระพุทธเจ้า ๑, เรื่องของโลก ๑, และกฏแห่งวิบากกรรม ๑ (พอดีไปอ่านพบเอ็นทรี่ของคุณโก๋ ขออนุญาต นำมาปะไว้เสียเลย เรื่องอจินไตย)



ในศาสนาอื่น กฏแห่งกรรม คือ พระเจ้า ครับ มันซับซ้อนยุ่งยากยิ่งกว่า วงจรโทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุด เพราะวัน ๆ หนึ่ง คนเราทำกรรม ทั้งกรรมดี กรรมชั่ว เป็นร้อยอย่าง พันอย่าง แต่ละอย่าง ระยะเวลาให้ผลไม่เท่ากัน ความหนักหน่วงของผลกรรมแต่ละอย่าง ก็ต่างกัน ทำดีวันนี้ กว่าจะได้รับผลของกรรมดี อาจต้องรอตอนแก่ หรือรอไปถึงชาติหน้า ทำชั่วก็เช่นกัน ทำดีกับปุถุชน เช่น ทำทานให้ขอทาน กับทำดีกับพระอริยเจ้า เช่น ถวายภัตตาหารให้พระโสดาบัน ความหนักหน่วงของผลแห่งกรรมดีก็ไม่เท่ากัน และกรรมที่เราทำ ก็มิใช่มีแต่เฉพาะชาตินี้ ทำมาแล้วตั้งแสน ตั้งโกฏิ ล้านชาติ เพราะฉะนั้นต่อให้คิดจนหัวหงอก ตีนกาขึ้น ก็ไม่ได้ข้อสรุป และคิดให้ตาย ก็ไม่ใคร่เกิดประโยชน์อะไร เอาเวลาไปตัดกิเลสดีกว่า และด้วยความยุ่งยากซับซ้อนนี่เอง ทำให้ศาสนาอื่น นิยามกฏแห่งกรรมว่า "พระเจ้า"



อะไรคือนิยามของคำว่า "พระเจ้า" สำหรับข้าพเจ้าแล้ว คือ สิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถอธิบายได้ ไม่สามารถเข้าใจได้ สิ่งที่ซับซ้อนเหนือความสามารถของมนุษย์ หรือเป็นสิ่งที่หลักธรรมของศาสนา ไม่มีคำตอบ หรือมีคำตอบก็ไม่มีประโยชน์อะไร เช่น ใครสร้างโลก (รู้ไปแล้วได้อะไร) ใครสร้างมนุษย์คนแรก (รู้แล้วก็ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้) สิ่งเหล่านี้ ถ้ารู้แล้วมีความสุข ก็น่ารู้ แต่ถ้ารู้แล้ว เป็นทุกข์ว่า มันจะจริงเร้อ รีบไปค้นคว้าหาหลักฐาน ไปวิเคราะห์โครงสร้างของมนุษย์ว่า วิวัฒนาการมาจากลิงหรือเปล่า ข้าพเจ้าว่า มันไปเพิ่มทุกข์โดยใช่เหตุ



ฉะนั้น อะไรที่ไม่สามารถอธิบายได้ ก็โบ้ยให้พระเจ้าให้หมด เช่น ทำไมถึงเกิดมาพิการ อ๋อ...ก็พระเจ้าให้คุณพิการ แล้วถามต่อว่า ทำไมพระเจ้าถึงให้คุณพิการ คำตอบคือ แผนการของพระเจ้า มนุษย์ไม่มีวันเข้าใจ ทำนองเดียวกัน ศาสนาพุทธก็บอกว่า มันเป็นกฏแห่งกรรม ชาติที่แล้ว อาจไปทำนั่น ทำนี่ไว้ ชาตินี้จึงเกิดมาพิการ แต่ถามว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไร ก็ต้องพึ่งคนที่มีญาณวิเศษ และก็จะเป็นปัญหาต่อไปว่า ญาณวิเศษนั้น เชื่อถือได้แค่ไหน ฉะนั้น อนุรักษ์คำตอบนี้ไว้ให้เป็นเรื่อง อจินไตย ไปเถิด เพราะถึงได้คำตอบไป ก็ใช่ว่าคุณจะหายพิการ ประโยชน์ของกฏแห่งกรรมนั้น มีไว้ให้เราเจริญชีวิตให้ถูกทำนองคลองธรรมเท่านั้น เช่น กฏแห่งกรรม บอกว่า เราเกิดเป็นคนขาด้วน เพราะชาติก่อน เคยไปตัดขาคนอื่นไว้ ฉะนั้นชาตินี้ และชาติต่อไป เรา และคนทั้งหลาย ก็ไม่ควรไปตัดขาใครเลย แค่นั้นเอง ใช่ต้องไปนั่งพิสูจน์ว่า ชาตินั้น ฉันเกิดมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ชื่อนายโหด โคตรฆ่าสัตว์ ได้ไปตัดขาของเด็กชายชื่อด้วน ควรไม่มีขา เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ เนื่องจากไปลักพาตัวเด็กมา แล้วผู้ปกครองไม่ยอมจ่ายค่าไถ่ เช่นนั้นพิสูจน์ไป ก็ไม่ได้ประโยชน์กระไร



การทำบุญนั้น ผล หรืออานิสงส์ที่ได้จะแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือ "บุญ" อะไรคือบุญ บุญคือความสุข บุญคือการละกิเลส มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น ได้เคยเขียนไปแล้วหลายรอบ ขอโค้ดมาอีกสักที เดี๋ยวจะลืม



ท่านจึงบัญญัติ คำว่า "บุญ หรือ ทาน" ขึ้น เพื่อเป็นกลไกอันชาญฉลาด น้อมนำให้เกิดการปฏิบัติ
แต่นานไป คนเริ่มลืมไปแล้วว่า บุญ หรือ ทาน คืออะไร
บุญ คือ ความสุขครับ และตัววัดว่า ได้บุญมาก หรือบุญน้อย คือ การละกิเลสครับ
ละกิเลสได้มาก เป็นบุญมาก
ละกิเลสได้น้อย เป็นบุญน้อย
ละกิเลสไม่ได้เลย ไม่เป็นบุญเลย
พอกกิเลสได้มาก เป็นบาปมาก
พอกกิเลสได้น้อย เป็นบาปน้อย
พอกกิเลสไม่ได้เลย ไม่เป็นบาปเลย



อีกส่วนหนึ่งคือ กุศลกรรม อันนี้เป็นหัวข้อที่จะเขียนในวันนี้



ก่อนจะเข้าสู่เรื่องกฏแห่งกรรม มาทำความเข้าใจกับคำว่า "เรา" เสียก่อน คนทั่วไปมักคิดว่า ร่างกายของเรานี้แหละ คือ "เรา" แต่พระพุทธเจ้าบอกว่า "เรา" ไม่ใช่ร่างกาย แต่คือ "จิต" ที่มาอาศัยร่างกายอยู่ชั่วคราว ดังนั้น ถ้าจะทำความเข้าใจกับเรื่อง กฏแห่งกรรม ก็ขอให้วางความรู้สึกว่า กายนี้ คือ "เรา" ไว้ชั่วคราว คิดเสียว่า "เรา" คือ "จิต" หรือภาษาหรู ๆ เขาเรียกว่า อทิสสมานกาย



ถ้าตัดเรื่องร่างกายของเราออกแล้ว หรือแต่ จิต เพียว ๆ เรื่องกฏแห่งกรรม บุญ บาป เป็นเรื่องไม่ยากครับ ....อ้อ....ขอบอกว่า เรื่องทั้งหลายที่จะเขียนต่อไปนี้ เป็นจินตนาการของข้าพเจ้าคนเดียวนะครับ อ่านแล้วลองเอาไปพิจารณาว่า เข้าท่าหรือไม่ ข้าพเจ้าไม่ได้บังคับให้ท่านทั้งหลาย มาเชื่อตามข้าพเจ้านะครับ



ทำไมเขาถึงว่า ทำทานมาก ๆ ชาติหน้าเกิดมาร่ำรวย อันนั้นเป็นข้อสรุปโดยหยาบ ๆ เรียกว่า เป็นความน่าจะเป็น โดยส่วนใหญ่ ของคนที่ทำทานมาก ๆ แล้ว ชาติต่อไปเกิดมารวย ความจริงแล้วจะจับให้มั่น คั้นให้ตาย ต้องลงดีเทล หรือ ลงรายละเอียดครับว่า ตอนที่เขาทำทาน เขาทำด้วยความรู้สึกเช่นไร กฏแห่งกรรม จะตอบเขาอย่างตรงไปตรงมา ถ้าตัดร่างกายออกแล้ว ก็เหลือแค่ "ใจ" หรือ "ความรู้สึก" ครับ วัตถุทาน เป็นเพียงแค่ "สื่อ" เท่านั้นเอง 1_display



ยกตัวอย่างเช่น ชายคนหนึ่ง เห็นขอทานหน้าตามอมแมม น่าสงสาร จึงควักเงินออกมา ๑๐ บาท ใส่ขันที่ขอทานถือมา ด้วยความรู้สึก "อยากสงเคราะห์" กฏแห่งกรรมจะตอบเขาด้วยคำตอบที่ว่า เมื่อใดที่เขาอยู่ในสถานะเดือดร้อน ก็จะมีคนรู้สึก "อยากสงเคราะห์" เขาเช่นกัน ผลแห่งกรรมนั้น ไม่อาจประเมินแน่นอนได้ว่า ผลจะได้รับเมื่อไหร่ แต่ที่ยืนยันได้ คือ ต้องได้รับผลนั้นแน่นอน และเมื่อไม่สามารถระบุชี้ชัดลงไปว่า ผลแห่งกรรมดี กรรมชั่ว จะส่งผลเมื่อไหร่ ศาสนาอื่นจึงใช้คำว่า "พระเจ้า" มาตอบ แทนว่า นั่นเป็นแผนการณ์ของพระเจ้า



ลองดูอีกตัวอย่างหนึ่ง มีคนเขียนเข้ามาว่า เคยเอาข้าวที่ร้านค้า จัดเป็นชุด ๆ สำหรับใส่บาตร ไปลองกินเอง แล้วกินไม่ลง รสชาติห่วยแตก แล้วถามว่า เอาของเช่นนั้น ใส่บาตรพระ บาปหรือไม่ ข้าพเจ้าได้เขียนเม้นท์ตอบไปแล้ว ขออนุญาต นำมาลงที่นี่อีกครั้ง



ทีนี้มาว่ากันถึงว่า ใส่บาตรด้วยของไม่ประณีต จะเป็นอย่างไร
ความจริงเรื่องนี้ (อะ ยาวอีกแล้วเรา) ต้องขออ้างพระพุทธพจน์ก่อนว่า



มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา
ธรรมใดล้วนมีใจเป็นใหญ่ มีใจประเสริฐสุด และสำเร็จที่ใจ



ดังนั้นแล้ว วัตถุทาน เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเองครับ ความจริง พระท่านจะฉัน หรือไม่ฉัน ฉันได้ หรือ ฉันไม่ได้ เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ มีผลน้อยกว่ามาก ผลที่มากจริง ๆ คือ ใจของคนให้ทานครับ
ระหว่างคนที่ตั้งใจทำอาหารจนสุดฝีมือ ตั้งใจอย่างดี ประณีตสุด ๆ แต่อาหารออกมา เปรี้ยวปรี๊ด เค็มปั๊ด กินแทบไม่ลง เอาใส่บาตร พระฉันแล้วอยากเอาหัวกระแทกฝาผนังตาย กับเศรษฐีเงินล้าน เอาเค้กราคาก้อนละแสน ที่ตัวเองกินเหลือ มาใส่บาตร เค้กชิ้นนั้น อร่อยมาก ๆ พระฉันแล้วเหมือนได้ขึ้นสวรรค์ทั้งเป็น ท่านว่า ใครได้บุญมากกว่ากันครับ
คำตอบคือ คนที่ตั้งใจทำอาหารครับ ส่วนเค้กของเศรษฐี เป็นเพียงของเดนที่เขากินเหลือ จะทิ้งก็เสียดาย เอาถวายพระดีกว่า
สองตัวอย่างนี้ ใครละกิเลสได้มากกว่ากันครับ
ยิ่งตอบง่ายเข้าไปใหญ่
ฉะนั้นเห็นแล้วใช่ไหมว่า อาหารจะประณีต หรือ หยาบ จะอร่อย หรือไม่อร่อย เป็นเรื่องรองครับ ประเด็นสำคัญ อยู่ที่ใจ
มันคนละเรื่องกัน แต่ส่วนใหญ่มันจะไปด้วยกัน แค่นั้นเอง
อย่างอาหารที่ใส่บาตร ถ้าไม่รู้ ไม่เป็นไรครับ เราตั้งใจใส่บาตรอย่างดี ก็ได้บุญไปเรียบร้อย อ๊ะ...ลองกินเองแล้ว ยังกินแทบไม่ได้ แต่ก็ยังใส่บาตรเช่นเดิมอยู่ เพราะเอาสะดวกเข้าว่า อย่างนี้มันมีเจตนาเจือลงไปด้วยครับ ว่าช่างเถอะ ใส่ ๆ ไป พระกินหรือไม่กินก็ช่าง ถือว่า วันนี้ฉันได้ทำบุญแล้ว อย่างนี้มันทำบุญตามประเพณีครับ เปลืองตังค์โดยใช่เหตุ และผลก็น้อยเหลือเกิน



ที่ว่าส่วนใหญ่มันไปด้วยกัน ก็หมายถึง เวลาคนเราตั้งใจทำอาหารอย่างดีที่สุด โอกาสที่อาหารจะออกมา รสชาติแหลกไม่ลง มันไม่ค่อยมีครับ ส่วนใหญ่ ถ้าตั้งใจทำ อาหารก็จะออกมาอร่อย คนเลยเข้าใจไปว่า อานิสงส์มาก เกิดจากอาหารอร่อย พระฉันแล้วแซ่บอีหลี ถ้าบ่แซ่บก็เป็นอันได้บุญน้อย แต่ความจริงแล้ว อานิสงส์มาก อานิสงส์น้อย อยู่ที่ความตั้งใจต่างหาก ตรงนี้ ถ้าย้อนมาดูว่า ทำไมเป็นเช่นนั้น ก็ตัดร่างกายออกจากการพิจารณาครับ ร่างกายของเรา คนทำอาหาร ตัดทิ้ง ร่างกายของพระ ผู้ฉันอาหาร ตัดทิ้ง เหลือแต่ "ใจ" เพียว ๆ ๒ ดวง อานิสงส์นั้นก็เกิดจาก "ความตั้งใจ" ในการทำอาหาร "ความตั้งใจ" ต้องการสงเคราะห์พระผู้ไม่สามารถเลือกฉันอะไรตามใจตนได้ "ความตั้งใจ" นั่นเขาเรียกอีกอย่างได้ว่า "เจตนา" เจตนาหัง ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นแล คือ ตัวกรรม พอเข้าใจไหมครับ ส่วนอาหารจะอร่อย ไม่อร่อย มันไปเกิดกับร่างกาย ซึ่งเราตัดทิ้งไปจากการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว



เช่นนี้แล้ว จะเห็นได้ชัดว่า อาหารเป็นเพียง "สื่อ" ของใจเท่านั้นเอง ฉะนั้นอาหารจะอร่อย หรือไม่อร่อย มันก็ทำหน้าที่ของมัน คือ สื่อความตั้งใจ ไปถึงผู้รับทาน เรียบร้อยแล้ว



และนี่ก็เป็นคำตอบด้วยว่า ถ้าไม่ได้ทำอาหารเอง ระหว่างอาหารราคาแพง กับอาหารราคาถูก อย่างไหนจะได้บุญมากกว่ากัน เพราะการซื้อของ ก็มีเจตนาใส่ลงไปด้วยครับ สมมุติว่า คุณเป็นนายกฯ มีรายได้วันละล้าน คุณเลี้ยงโต๊ะจีนให้พระ โต๊ะละแสน เพื่อความนับหน้าถือตาในสังคม กับยายเพิ้งแก่ ๆ บ้านก่อด้วย ไม้ และสังกะสี มีรายได้วันละ ๒๐ บาท ตั้งใจซื้อหมูปิ้ง ๓ ไม้ ราคา ๑๘ บาทใส่บาตรถวายพระ กำลังใจของใครสูงกว่ากันครับ ระหว่างนายกฯเหลือเงินอีก ๙ แสน กับยายเพิ้งเหลือเงินแค่ ๒ บาท กำลังใจของนายกฯ ก็สูงพอควรเลยทีเดียว ที่สามารถตัดใจจ่ายเงินทีหนึ่งตั้งแสน ถวายพระ แต่เขาก็ยังเหลือเงินอีก เก้าแสน กับยายเพิ้ง เหลือเงินไว้ให้ตัวเองกินข้าวแค่ ๒ บาท ประมาณว่า กูอดก็ได้ ขอให้พระอิ่13091ม อย่างนี้เรียกว่า กำลังใจในการให้ทาน "เต็ม" ซึ่งกำลังใจ เขาเรียกได้อีกอย่างว่า "บารมี" เช่นนี้ ก็เรียกได้ว่า ทานบารมี เต็ม



แล้วถ้ากำลังใจเต็ม ทำแล้วจะได้อะไร ก็ง่าย ๆ ซื่อ ๆ ทำอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น เมื่อผลของกรรม ถึงวาระของมัน ก็อาจจะให้ผลในลักษณะที่ว่า เกิดมาแล้ว มีแต่คนเอ็นดูรักใคร่ อยากมอบทรัพย์สมบัติให้ หรือ อีกนัยหนึ่ง ให้สิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตเขา แก่เรา เคยทำทานด้วยกำลังใจเท่านี้ ก็จะได้รับทานที่มีกำลังใจประมาณกันตอบแทน ยกตัวอย่าง ยายเพิ้งคนเดิม เกิดมาชาติหน้า หรือชาติต่อ ๆ ไป อาจจะมีวิบากกรรมบางอย่าง ทำให้ไปเกิดในครอบครัวยากจน แต่พอแม่คนใหม่ของยายเพิ้งตั้งท้อง อำนาจแห่งกุศลกรรมที่ยายเพิ้งทำไว้ อาจทำให้พ่อแม่ใหม่ของยายเพิ้ง ร่ำรวยขึ้นทันตาเห็น เพื่อจะได้สงเคราะห์ยายเพิ้งต่อไปในอนาคต สมกับที่ยายเพิ้งได้เคยทำบุญทำกุศลไว้ ใช่เป็นอย่างที่มักเข้าใจกันว่า ลูกคนนี้นำโชคมาให้ เป็นตัวเงินตัวทอง (เฮ้ย...คนนะไม่ใช่เหี้ย) กฏแห่งกรรม ก็เป็นฉะนี้แล



มาถึงเทศกาลสารทจีน ที่เพิ่งผ่านไป เขาไหว้อะไรกัน ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบแล ทราบแต่คนจีนเขานับถือบรรพบุรุษ ซึ่งถ้าใช้หลักการเดียวกันพิจารณา ตัดร่างกายของเรา ร่างกายของบรรพบุรุษ ทิ้งไป ก็จะทราบได้เลยครับว่า ความจริงแล้ว เขาให้เรา "นึกถึง" หรือ "ระลึกถึง" บรรพบุรุษ จิตนั่นแล เป็นตัวนึกถึง ระลึกถึง ไม่ใช่ร่างกายเรานึก ถูกไหม ระหว่างที่เราทำขนมเข่ง ขนมเทียน หรือหมู เห็ด เป็ด ไก่ อะไรก็ตาม ใจก็ระลึกถึงบรรพบุรุษ ว่า "เฮ้ย ท่านชอบเป็ดพะโล้ ยี่ห้อซีพี นี่หว่า...." หรือ อื่น ๆ ระลึกถึงความดีของบรรพบุรุษ นั่นแล คือสิ่งที่บรรพบุรุษรับรู้ หรือเสวยได้ ไอ้พวกเป็ดไก่ ของเซ่นไหว้ต่าง ๆ บรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว ท่านเสพไม่ได้แล้ว แต่ท่านเสพ ความตั้งใจของเรานั่นแล ท่านเสพ ความสุขที่เกิดจากความรู้สึกว่า "เฮ้ย...มันยังจำอั๊วะได้หว่ะ"



นั่นเป็นกุศโลบาย ให้คนรู้จักกตัญญูกตเวที ในศาสนาพุทธกล่าวไว้เลยว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นสัญลักษณ์ของคนดี



แล้วเคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมบูชาพระต้องจุดธูปจุดเทียน การที่เราจุดเทียนบูชาพระ จุดธูปบูชาพระ ก็คือ บูชาพระด้วยแสงสว่าง บูชาพระด้วยกลิ่น(ที่คิดว่า)หอม ไม่ใช่บูชาพระด้วยวัตถุธาตุ คือ เทียน หรือธูปหอม แต่อย่างใด และแสงสว่าง ก็เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา นัตถิ ปัญญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี ปัญญา โลกัสมิง ปัชโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก จิตที่เจตนาบูชาพระ ด้วยแสงสว่าง ก็เปรียบด้วยการบูชาพระธรรม ซึ่งบรรจุไว้ด้วยปัญญา หรือบูชาพระปัญญาธิคุณ อันเป็นประหนึ่งแสงสว่างในโลก ชาติถัด ๆ ไป จึงเกิดมามากไปด้วยปัญญา



อีกสักตัวอย่างหนึ่ง คาดว่า ทุกคนคงรู้จักชูชก ยอดขอทาน เฮียแกขอดะ ขอทุกอย่างที่ขวางหน้า ขอจนได้เมียสาวอายุคราวลูก ขอได้แม้กระทั่งลูกของคนอื่น คือ กัณหา และชาลี ลูกของพระเวสสันดร  แต่วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะพูดเรื่อง ความสามารถในการขอทาน ของตาชูชก แต่อยากพูดเรื่องบุพพกรรมของตาชูชก และเมียสาว บุพพกรรมของเมียชูชก ทำให้ต้องได้ผัวแก่ ทราบว่า สมัยหนึ่ง เธอบูชาพระด้วยดอกไม้เหี่ยว ๆ ส่วนตาชูชก บูชาด้วยดอกไม้สด ๆ ใหม่ ๆ ชาตินี้มาเจ๊อะกัน เลยปิ๊งกันด้วยอานิสงส์การบูชาพระด้วยดอกไม้ ต่างชนิดกัน



วิเคราะห์ลงไปครับว่า ทำไมการบูชาด้วยดอกไม้ต่างชนิดกัน ถึงให้ผลเช่นนี้



ดอกไม้คือสัญลักษณ์ของอะไรครับ ดอกไม้คือสัญลักษณ์ของความสวยงาม ถูกไหมครับ ฉะนั้น เจตนาของผู้ที่บูชาพระด้วยดอกไม้ คือ ต้องการบูชาด้วยสิ่งสวยงาม อะ...พิจารณาตามเกณฑ์เดิม ตัดร่างกายของเราออกไป ตัดดอกไม้ออกไป เหลือแต่เจตนา หรือใจ ของผู้ให้ทาน พอเห็นภาพหรือยังครับว่า จิตเรา ตั้งใจบูชาพระ ด้วยของสวยงาม จึงได้สิ่งสวยงามตอบแทน นั่นคือ ชูชกได้เมียเด็ก เมียสวย ส่วนเมียชูชก บูชาด้วยดอกไม้เหี่ยว เลยได้ผัวแก่ ตอบแทน



ฉะนั้นถ้าอยากได้ผัวหล่อ เมียสวย อย่าลืมตั้งเจตนาให้ถูก แล้วบูชาพระด้วยสิ่งสวยงาม หรือชีวิตบัดซบได้ผัวถังเบียร์ เมียบ๊ะจ่าง มาเรียบร้อยแล้ว ก็พึงทราบได้เลยว่า เราไม่เคยบูชาพระด้วยสิ่งสวยงามเลย เริ่มต้นวันนี้ไม่สายครับ



เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ



ปล.แต่ต้องพึงระลึกไว้ด้วยนะครับว่า การอธิษฐานขอให้ชาติหน้ามีผัวหล่อ เมียสวย พูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือการตั้งความปรารถนาขอให้เกิดอีกนั่นแล เกิดแล้วมีแต่ทุกข์ครับ ทางที่ดีบูชาพระด้วยอะไรก็แล้วแต่ ขออย่างเดียวเลยครับ ขอไม่ต้องเกิดอีก ดีที่สุด

ว่าด้วยสมาธิหัวตอ ข้อควรระวังของนักปฏิบัติมือใหม่ และมือเก่าby Dhammasarokikku

imagesCAH271JAแหม...ตัวเองก็ไม่ได้ฌานสมาบัติกับเขา แต่ริจะเขียนเรื่องสมาธิกะเขาด้วย เป็นว่าที่เขียนนี่เขียนตามแนวปริยัติ คือว่าตามหนังสือ หรือจำเขามาเขียนนั่นเอง

เรื่องมันมีอยู่ว่า สมัยเข้าไปในป่าห้วยขาแข้งหน่ะ ตอนที่เขาคุยกันเรื่องสมาธิ เขาคุยกันเรื่องสมาธิหัวตอ ไอ้เราก็เพิ่งเคยได้ยิน แต่คำคำนี้เขาใช้กันมานมนานแล้วสำหรับนักปฏิบัติ กล่าวโดยย่นย่อ ก็คือการเข้าฌานสมาบัติ แล้วไปติดกับฌานสมาบัตินั่นเอง (ไอ้เราก็ไม่ได้ฌานกับเขาเลยไม่รู้ว่า มันรู้สึกยังไง ถึงรู้ก็คงอธิบายไม่ถูก รู้แต่ว่า เป็นสุขมาก) ทีนี้อีตอนเขาคุยเรื่องนี้กัน เป็นวันที่เพิ่งผ่านการสมาทานเนสัชชิฯ (สมาทานนั่ง ไม่ให้หลังแตะพื้น) มา ๑ คืน เลยได้แต่นอนฟังอยู่ห่าง ๆ แล้วไม่มีโอกาสได้ซักถาม โต้แย้ง หรือ แลกเปลี่ยนทัศนคติ

เขากล่าวว่า การฝึกมโนมยิทธิ ตามสายหลวงพ่อฤๅษีลิงดำนั้น ทำให้คนไปติดสุข ติดนิมิต ติดฌาน เสียมาก ไอ้เราก็เคยเข้าไปฝึกกรรมฐานที่วัดท่าซุง ก็ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ตามแนวทางการปฏิบัตินั้น มโนมยิทธิ เป็นเพียงเครื่องมือ หรืออุบายให้ใจสงบเท่านั้น หรือที่เขาเรียกกันว่า สมถะ นั่นละ ส่วนการวิปัสสนา ก็จะมีแทรกเข้าไปในการฝึกสมถะนั้น ถ้าคนศึกษาเพียงผิวเผิน ก็จะเข้าใจไปว่า หลวงพ่อสอนให้ไปเห็นนรก สวรรค์ นิพพาน สอนให้ไปติดนิมิต ครั้นจะลุกขึ้นมาแย้ง ก็ง่วงเสียเหลือเกิน จากนั้นเขาก็พรรณาถึงข้อเสียของสมาธิหัวตออีกยาวเหยียด เราก็นึกแย้งในใจว่า ถ้าตามคำสอนแล้ว การปฏิบัติกรรมฐาน หาใช่นั่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ใจสงบเท่านั้น นั่นเขาเรียกว่า นั่งขาดทุนด้วยซ้ำ แท้จริงแล้ว ต้องนั่งจนสงบที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วถอยออกมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ(สมาธิขั้นกลาง ละนิวรณ์ ๕ ประการได้) แล้วคิดพิจารณาเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ให้เกิดปัญญา ถ้ามัวแต่อยู่ในฌาน มันจะไม่คิดอะไร มันจะเอาแต่สุขสงบอย่างเดียว ไม่เกิดปัญญาแต่อย่างใด นี่ละที่เขาว่าขาดทุน นั่งแทบตาย แต่ไม่ได้ปัญญาอะไรขึ้นมาเลย ได้แต่ความสงบ ฉะนั้นแล้ว สมาธิหัวตอ ก็ใช่ว่าจะไม่ดี เพียงแต่ต้องได้รับคำแนะนำอีกนิดเท่านั้นเอง

imagesCAVZH7SI

ครั้นพอศึกษาไปนานเข้า ก็ได้ความรู้มาว่า อีตอนถอยออกมาจากฌานนี่ละยาก เพราะมันเป็นสภาวะที่สุขมาก ใครเจอเข้าครั้งแรก มันไม่อยากจะทำอะไรอีกเลย อยากนั่งอยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกเขาไม่เห็นด้วยกับการฝึกนั่งสมาธิเอาฌานสมาบัติ เขามองว่า ฌานสมาบัติเป็นเหมือนกับดัก

เวลาผ่านล่วงเลยมานาน ไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องสมาธิหัวตออีกเลย ก็เก็บความสงสัยไว้เรื่อยมา จนมาเมื่อ ๒-๓ วันก่อน ได้มีโอกาสพูดคุยกับหลวงพี่เจริญ อะไรดลใจให้งัดเรื่องนี้ขึ้นมาคุยก็ไม่ทราบ คุยไปคุยมาจึงทราบว่า สมาธิหัวตอ หาใช่สมาธิอย่างที่ข้าพเจ้าเข้าใจไม่ สมาธิหัวตอ คือสภาวะที่เข้าถึงฌานสมาบัติ และสามารถทรงอารมณ์ฌานไว้ได้ พูดง่าย ๆ ก็เข้าฌานเป็นปกตินั่นละ ไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน มันเข้าฌานอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า เข้าฌานจนชินนั่นเอง พอเข้าฌานจนชินแล้ว ก็ไม่รู้ว่า ตัวเองทรงฌานอยู่ เวลาทรงฌานนี่ กำลังฌานมันกดกิเลสหมดเลย จะรู้สึกไม่อยากได้อะไรเลย ไม่โกรธเลย ไม่หลงเลย อะไรเข้ามา ก็รู้สึกเฉย ๆ ปล่อยมันผ่านไป จนหลงคิดไปว่า ตัวเองคงสำเร็จอรหัตตผลแล้ว เป็นพระอรหันต์แล้ว คนที่หลุดเข้าไปในสภาวะเช่นนั้นแล้ว จะถอนตัวยากมาก เพราะจะเกิดความถือตัวถือตน ว่าสำเร็จแล้ว กิจที่ต้องทำไม่มีอีกแล้ว บรรลุมรรคผลขั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนาแล้ว นี่ละคือ "สมาธิหัวตอ" ที่เขาพูดกัน

a539-200

ข้าพเจ้าก็เห็นตัวอย่างนักปฏิบัติที่เป็นเช่นนั้นอยู่ เตือนเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง ว่าครูบาอาจารย์เขาสอนไม่ให้คิดว่า ตนเองบรรลุธรรมขั้นไหน ไปคิดว่าตนบรรลุแล้ว เข้านิโรธสมาบัติได้ ฟุ้งไปถึงไหนต่อไหน (ไอ้เราอย่าว่าแต่ปฐมฌานเลย อุปจารสมาธิยังเข้าไม่ได้เลย แล้วจะเอาอะไรไปเตือนเขาได้ ไม่มีอะไรน่าเชื่อถือ นอกจากความเป็นพหูตูด ใช้ตูดฟังมาเยอะ เอ้ย...พหูสูต ฟังคำสอนครูบาอาจารย์มาเยอะ เท่านั้นเอง)

คนที่หลงตัว อย่างนั้น ไม่ใช่คนเลวนะ สภาวะมันเหมือนหมดกิเลสแล้วมาก ๆ จนพระพุทธองค์ยังทรงบัญญัติพระวินัยไว้เลยว่า ภิกษุหลงเข้าใจว่า ตนบรรลุมรรคผล บอกอุตตริมนุสธรรมนั้นแก่ผู้อื่น ต้องอาบัติไม่ถึงปาราชิก แต่ถ้าบอกคนอื่นเพื่อหวังลาภสักการะ อย่างนี้ปาราชิกไปเลย

ถ้าคำว่า "สมาธิหัวตอ" นิยามเช่นนั้น ข้าพเจ้าก็เห็นด้วย หาใช่ว่าการแนะนำเพียงเล็กน้อย ให้ถอนออกมาจากฌานสมาบัติ มาอยู่ที่อุปจารสมาธิ จะช่วยอะไรได้ "สมาธิหัวตอ" เป็นอะไรที่เลวร้าย สมกับที่เขาพรรณามาจริง

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

รักษาอุโบสถศีล พุทโธ่...แค่นี้เอง จิ๊บ ๆby Dhammasarokikku


imagesCAWS9BZYถ้าใครในชีวิต ไม่เคยรักษาศีล ๘ ในวันพระเลย รู้จักศีลทุกข้อ ทำได้เกือบทุกข้อ ยกเว้น การอดข้าวเย็น ไม่ยากครับ ก็จัดการหม่ำข้าวเย็น เสียก่อนเลย ห้าโมง หกโมง ใช่ไหม อิ่มแปล้แล้ว คราวนี้ ก็มาตั้งใจ บูชาพระ สมาทานศีล ๘ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อะฮ้า....ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด หลับไป ตื่นมา ได้แล้วครับ ๑ คืน ง่ายมะ มาดูอานิสงส์ของการรักษาศีล ๘ แค่คืนเดียว



อานิสงส์ของการรักษาอุโบสถศีล ครึ่งวัน



“..เรื่อง “รุกขเทวดา” ในสมัยพระพุทธเจ้า เวลานั้นมีมหาเศรษฐีท่านหนึ่งมีนามว่า “อนาถบิณฑิกเศรษฐี” บ้านนี้เวลาวันพระทุกคนในบ้านต้องรักษาอุโบสถ ปรากฏว่าวันพระวันหนึ่ง มีคนจนคนหนึ่งเข้ามาขอเป็นลูกจ้างของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านก็ถามว่า “เธอทำงานอะไรได้บ้าง” เขาก็ตอบว่า “ทำทุกอย่างตามที่ท่านจะใช้” ท่านก็บอกว่า “งานอย่างอื่นก็มีเจ้าหน้าที่เต็มหมดแล้ว ที่ยังมีพร่องอยู่ก็คือคนตัดฟืน” (เพราะที่บ้านนี้ต้องเลี้ยงพระมาก เลี้ยงคนมาก) เธอก็ยอมรับทำ หลังจากนั้นเธอกินข้าวเช้าเสร็จก็ถือขวานเข้าป่าไปตัดฟืน แล้วกลับมาตอนเย็น พอมาถึงปรากฏว่าคนที่บ้านนั้นเงียบสงัด ไม่มีเสียง ฉันขอข้าว ฉันขอแกง ฉันต้องการอย่างนั้น อย่างนี้ เหมือนตอนเช้า เธอก็เข้าไปที่โรงครัว แม่ครัวก็จัดอาหารเฉพาะเธอ เธอจึงถามว่า “วันนี้ทุกคนในบ้านเขากินข้าวกันหมดแล้วหรือ เห็นเงียบไป” แม่ครัวก็บอกว่า “วันนี้เป็นวันพระ ที่บ้านนี้หมดทุกคน วันพระต้องรักษาอุโบสถแม้แต่เด็กที่กำลังกินนมอยู่ ท่านมหาเศรษฐียังให้บ้วนปาก และกินนํ้าผึ้ง หรือนมใส นมข้นแทน” ชายตัดฟืนก็ถามว่า “อุโบสถเป็นอย่างไร” แม่ครัวตอบว่า “ถ้าอยากจะรู้ก็ไปถามท่านมหาเศรษฐีก็แล้วกัน ทุกคนทำตามคำสั่ง แต่ความรู้ไม่มี” ชายผู้นี้ก็เข้าไปหาท่านมหาเศรษฐี ท่านก็แนะนำว่า “อุโบสถศีลก็คือศีล ๘ แต่รักษาวันหนึ่ง กับคืนหนึ่งเขาเรียกว่า อุโบสถศีล”
ชายผู้นี้ก็ถามต่อว่า “ตอนเช้ามืด ไม่ได้สมาทานอุโบสถศีล ตอนเย็นจะสมาทานได้ไหม” ท่านมหาเศรษฐีก็บอกว่า “ถ้ารักษาเต็มวันไม่ได้ รักษาครึ่งวันก็ใช้ได้” เขาก็สมาทานอุโบสถศีลกับท่านมหาเศรษฐี และท่านก็แนะนำอุโบสถศีลมี ๘ ข้อตามศีล ๘



heaven5_s
หลังจากนั้นเมื่อสมาทานศีลแล้ว เขาก็ไม่ได้กินข้าวเย็น เขากินแต่ข้าวเช้า และข้าวกลางวันที่ห่อไป งานตัดฟืนมันก็หนัก และไม่ได้กินข้าวเย็น พอตกดึกเข้า ลมดันขึ้นมา มีอาการจุกเสียดมาก มีคนมารายงานท่านมหาเศรษฐี ท่านก็ไปแนะนำ และนำอาหารที่มีรสเลิศ ๕ อย่าง ไปให้กินบอกว่า “กินเสียเถอะ วันนี้ไม่เป็นไร ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่วันอื่นยังรักษาได้” ชายผู้นี้ก็ใจเด็ดบอกว่า “ความดีเต็มวันผมทำไม่ได้ แต่ผมรักษาได้แค่ครึ่งวัน ถ้าผมจะตายเพราะความดีครึ่งวัน ผมยอมตาย” ท่านมหาเศรษฐีจะแค่นเท่าไร เขาก็ไม่ยอมกินอาหาร
พอวันรุ่งขึ้นเขาก็ตาย ตายเพราะกำลังใจที่พอใจในอุโบสถศีล เป็นอันว่าเขามีโอกาสได้ทำบุญคราวนั้น คราวเดียว เมื่อตายจากความเป็นคน ก็ไปเกิดเป็นรุกขเทวดา
ในเวลานั้นมีฤๅษี ๖๐ ท่าน ตั้งใจจะไปบ้านท่านโฆษกเศรษฐี ซึ่งอาราธนาไว้ว่า ถ้าเวลาหน้าแล้ง ขอให้ไปรับภัตตาหารที่บ้านเขา แต่ท่านฤๅษี ๖๐ ท่านไม่ได้อภิญญา พอไปถึงต้นไม้ใหญ่ มีพุ่มใหญ่ ก็คิดว่า ต้นไม้นี่ มีพุ่มใหญ่ มีร่มเงาดี เรานั่งพักสักครู่หนึ่งดีกว่า พอนั่งพักไปสักครู่หนึ่ง หัวหน้าฤๅษีก็มีความรู้สึก คือท่านไม่ได้ทิพย์จักขุญาณ แต่มีความรู้สึกคิดว่า ต้นไม้นี้อาจจะมีรุกขเทวดาที่มีบุญมาก เพราะต้นไม้มีพุ่มใหญ่เหลือเกิน จึงนึกในใจว่า “เวลานี้เราเดินมาเหนื่อยมีความกระหายนํ้า ถ้าหากว่ารุกขเทวดาจะเมตตาเรา บันดาลนํ้าที่ใสสะอาดให้เรากินก็จะดี” เทวดาก็บันดาลนํ้าให้กิน
ต่อมาเธอก็คิดว่า “เรากินนํ้าแล้ว และก็หิวข้าว หิวลูกไม้ ถ้าเทวดาบันดาลอาหารให้เรากินได้ก็จะดี” เทวดาก็บันดาลให้กิน



heavens_s
ต่อมาเธอก็คิดว่า “เราเดินมาไกลมันร้อน ถ้ามีสระอาบน้ำได้ก็ดี” เทวดาก็บันดาลสระอาบน้ำให้อาบ เมื่อความประสงค์ของท่านฤๅษี เป็นไปตามประสงค์ ท่านก็คิดว่า “เทวดาองค์นี้ ต้องมีอานุภาพมาก” ดังนั้นจึงขอร้องด้วยวาจาว่า “ขอเทวดาผู้มีคุณ ได้โปรดสำแดงตนให้ปรากฏ” เทวดาก็สำแดงตนให้ปรากฏ ท่านฤๅษีก็บอกว่า “ท่านรุกขเทวดา ท่านมีบุญญานุภาพมาก ข้าพเจ้าต้องการอะไร ท่านก็บันดาลให้ได้ทุกอย่าง และเวลานี้ก็เห็นวิมานท่านใหญ่โต มโหฬาร สวยสดงดงาม ตัวท่านก็มีความสง่า มีเครื่องประดับสวยมีแสงสว่างออกจากกาย อยากจะทราบว่าในสมัยที่ท่านเป็นมนุษย์ ท่านทำบุญอะไรไว้”
พอท่านฤๅษีถามอย่างนี้ ท่านเทวดาก็อายบอกว่า “อย่าถามผมเลยขอรับ ผมอายเหลือเกินเพราะบุญผมน้อย” ในเมื่อท่านฤๅษีคะยั้นคะยอหนักเข้า ขอร้องมากขึ้น เทวดาก็ยอมตอบว่า “ผมมีบุญน้อย เป็นรุกขเทวดาเพราะรักษาอุโบสถศีลครึ่งวัน”
ก็เป็นอันว่า รักษาอุโบสถศีลเพียงครึ่งวัน ครั้งเดียวในชีวิต ตายจากคนไปเกิดเป็นรุกขเทวดา มีบุญญาธิการมาก ฉะนั้นถ้าหากว่า เทวดา หรือนางฟ้าองค์ใด ที่ท่านอาศัยต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง และมีบุญญาธิการมาก อย่างเทวดาองค์นี้ ต้นไม้ต้นนั้นถ้านำมาเป็นเสา หรือนำมาเป็นพรึง หรือนำมาเป็นตง หรือคาน ก็ตาม คงจะตกนํ้ามันเหมือนกัน เพราะมีอานุภาพมาก..”



คัดมาจากเว็บนี้ครับ http://www.thaisquare.com/Dhamma



ความต่อจากนี้เป็นฉันใด อ่านต่อได้ใน ใครว่า พระไตรปิฎกน่าเบื่อ - นิทานอิงธรรมบท เรื่องพระนางสามาวดี ตอนที่ ๒๖



เป็นไงครับ กำไรเละเทะ คุณคนตัดฟืนคนนั้น เขาทนหิวข้าวจนตาย แต่ของเรา ถ้าซวยตายไปคืนนั้น อิ่มตายครับ เหอ เหอ สบายกว่ากันเยอะเลย แต่ต้องรักษาจริง ๆ จัง ๆ นะครับ ไม่ใช่ลุกขึ้นมากลางดึก หิว ออกไปหาข้าวในเซเว่นกิน อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะครับ ถ้าเผอิญตื่นขึ้นมา ก็ต้องใช้กำลังใจ แบบเดียวกับคนตัดฟืนนี่ละครับ



ทีนี้ ถ้าอ่านแล้ว เฮอะ...คืนเดียว กระจอกไป เดี๋ยวจะรักษาอุโบสถศีล ๑ วัน ให้ดู ลองไปดูอานิสงส์ของคนที่รักษาอุโบสถศีล ๑วัน ๑ ครั้งในชีวิตกันครับ



post-3945-1191474688



ผลแห่งการรักษาอุโบสถศีลครั้งเดียว
ในพระนครพันธุมดี มีพระบรมกษัตริย์ทรงพระนามว่าพันธุมา
ในวันเพ็ญ ท้าวเธอทรงรักษาอุโบสถศีล
สมัยนั้น ดิฉันเป็นนางกุมภทาสีในพระนครพันธุมดีนั้น เห็นเสนาพร้อมด้วยพระมหากษัตริย์ จึงคิดอย่างนี้ ในครั้งนั้นว่า แม้พระมหากษัตริย์ ก็ยังทรงละราชกิจมารักษาอุโบสถศีล กรรมนั้นต้องมีผลแน่นอน หมู่มหาชนจึงพากันเบิกบานใจ
ดิฉันพิจารณาเห็นทุคติ และความเป็นคนยากไร้โดยแยบคาย ทำให้จิตใจร่าเริงแล้ว รักษาอุโบสถศีล ดิฉันรักษาอุโบสถศีล ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น ดิฉันได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานที่บุญกรรมสร้างให้ดิฉันอย่างสวยงามในดาวดึงส์นั้น สูงโยชน์หนึ่ง ประกอบด้วยเรือนยอด มีที่นั่งใหญ่โต ประดับแล้วอย่างดี นางอัปสรแสนนาง ต่างบำรุงบำเรอดิฉันอยู่ทุกเมื่อ
ดิฉันงามเกินนางเทพอัปสรอื่นๆ ในกาลทั้งปวง
ดิฉันได้เป็นพระอัครมเหสีของท้าวสักรินทเทวราช ๖๔ พระองค์
ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ พระองค์
ดิฉันเป็นผู้มีผิวพรรณปานดังทองคำ ท่องเที่ยวอยู่ในภพทั้งหลาย
ดิฉันเป็นผู้ประเสริฐในที่ทุกสถาน นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล
ดิฉันย่อมได้ยานช้าง ยานม้า และยานรถ แม้ทุกอย่าง มากมาย
นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล ภาชนะสำเร็จด้วยทองเงินแก้วผลึก และแก้วปทุมราช
ดิฉันได้ทุกอย่าง ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้ายและผ้าที่มี ราคาสูงๆ
ดิฉันก็ได้ทุกสิ่ง ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า เสนาสนะ
ดิฉันได้ทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล
เครื่องหอมชนิดดี ดอกไม้ จุรณ์สำหรับลูบไล้ ดิฉันก็ได้ทุกประการ
นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล เรือนยอด ปราสาท มณฑป เรือนโล้น และถ้ำ
ดิฉันก็ได้ถ้วนทุกสิ่ง นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล
พอดิฉันอายุได้ ๗ ขวบก็ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต
ได้บรรลุอรหัตเมื่อยังไม่ทันจะถึงครึ่งเดือน
ดิฉันมีอาสวะสิ้นไปหมดแล้ว
บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้
ดิฉันได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น
ดิฉันไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...พระพุทธศาสนาดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.
ทราบว่า ท่านพระเอกุโปสถิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.



คัดมาจากเว็บนี้แล http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=4306&Z=4339&pagebreak=0



โอ้โฮ...อะไรจะปานนั้น แต่นี้คือเรื่องจริงครับ มียืนยันในพระไตรปิฎก เข้าใจหรือยังครับว่า ทำไมทำทานเท่าไหร่ ก็สู้รักษาศีลไม่ได้ รักษาศีลเท่าไหร่ ก็สู้เจริญสมถะวิปัสสนาไม่ได้ ยุคนี้ มีแต่คนยุให้ไปทำทาน แต่หารู้ไม่ว่า บุญที่ไม่ต้องใช้ตังค์สักบาท ทำแล้วได้อานิสงส์มากมายมหาศาลกว่าตั้งเยอะ



เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ ปล.ใครไม่รู้จักศีล ๘ ไม่รู้วิธีสมาทาน ลองเข้าไปดูที่นี่ครับ มีทั้งให้อ่าน ให้ฟัง http://www.geocities.com/buddhamontra/page002.htm



by Dhammasarokikku


How to สวรรค์นรก เขาไปยังไงกัน:by Dhammasarokikku


heaven5_sอู๊พซ์มาหลายวันแล้ว พอดีมีคนถามหลังไมค์เข้ามาครับ ว่าจะเขียนเรื่องนี้อยู่พอดี เพราะอ่านหนังสือ เตรียมสอบไป เตรียมสอบมา ไปโจ๊ะเข้ากับ สิ่งที่น่าสนใจ จากพระที่เรียนอภิธรรมครับ คำถามมีดังนี้



ขอโทษที่รบกวนนะครับ



คือผมอยากทราบว่าถ้าคนคนนึง เนี่ยเคยฆ่าคนไปหลายคน แต่ก็เคยช่วยคนไว้มากกว่า อยากทราบว่าบาปจากชีวิตที่เคยฆ่ากับบุญจากการช่วยชีวิตมันจะหักล้างกันไหม ครับ หรือนับแยกกัน



ขอบคุณนะครับ



ความจริง เรื่องบุญบาปนี่ เคยเขียนไปแล้ว อยู่ในคิริมานนทสูตร แต่ไม่เป็นไร เขียนอีกสักรอบก็ได้ เพื่อความคล่องไม้คล่องมือ เรื่องบุญ เรื่องบาปนี้ หรือถ้าจะเขียนให้ชัด คือ เรื่อง กุศลกรรม กับ อกุศลกรรม เขาบันทึกแยกกันครับ ไม่สามารถหักล้างกันได้ เคยอุปมาไว้ เหมือนทรัพย์สิน เป็นบุญ หนี้สิน เป็นบาป ถ้าเคยเรียนวิชาบัญชีมา รู้จักงบดุล หรือ Balance Sheet จะเข้าใจได้ไม่ยาก ทรัพย์สิน จะบันทึกลงฝั่งซ้าย หนี้สิน กับ ส่วนของเจ้าของ จะอยู่ฝั่งขวา แม้มูลค่ามันจะเท่ากัน แต่มันไม่สามารถหักล้างกันได้



หรือให้ทรัพย์สินเป็นบ้าน มูลค่าสิบล้าน กับหนี้สิน เป็นสินเชื่อบุคคลสิบล้าน วันดีคืนดี ไม่อยากมีหนี้แล้ว ก็บอกเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ข้าพเจ้ามีบ้านอยู่หลังหนึ่ง มูลค่าสิบล้าน จะเอามาหักลบกลบหนี้ ให้หนี้เป็นศูนย์ ได้หรือไม่ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ ก็ย่อมเบะปาก แล้วยื่นนิ้วกลางให้ท่าน บอกไม่เอาบ้าน จะเอาตังค์ ฉันใด บุญ กับบาป ก็หักล้างกันไม่ได้ฉันนั้น



ในโลกของความจริง คนเรามักจะสร้างอกุศลกรรมไว้ มากกว่ากุศลกรรม ครับ เป็นเรื่องปกติ ดังนั้นถ้าเกิดมาแล้ว อยู่เฉย ๆ ตลอดชีวิต ไม่ทำทั้งบุญ ไม่ทำทั้งบาป ก็มีแนวโน้มจะไปอบายภูมิครับ เพราะอกุศลกรรมสะสมมามากกว่า กุศลกรรม แสดงว่า งบดุลของคนเราโดยปกติ จะเอียงไปข้างขวา หรือ เอียงไปข้างหนี้สิน



แม้บุญ กับบาป ไม่สามารถหักลบกลบหนี้กันได้ แต่มันสามารถทำให้เจือจางได้ครับ ถ้าได้อ่านเรื่องราวของ โฆสกเทพบุตรในซีรี่ย์ ใครว่าพระไตรปิฎกน่าเบื่อ ด้านขวาของบล็อกนี้ โฆสกต้องได้รับผลของอกุศลกรรมที่เคยทิ้งลูก ในอดีตชาติ มาชาติปัจจุบัน ก็ต้องถูกทิ้ง ถูกปองชีวิต ถึง ๗ ครา แต่ด้วยอำนาจแห่งบุญ ที่เคยเกิดเป็นสุนัข แล้วเห่าพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยความรัก เธอจึงรอดตายทั้ง ๗ ครั้ง



heaven6_s



มีคนเคยปรารภกับข้าพเจ้า ถึงความไม่สมเหตุสมผลของศาสนาพุทธ ในเรื่องของมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ไฉนหนอท่านทำบาปหยาบช้าแทบตลอดชีวิต ตอนใกล้ตาย นึกถึงพระพุทธเจ้าเพียงเล็กน้อย จึงได้ขึ้นสวรรค์ ดูไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย และอีกกรณีหนึ่งคือ พระนางมัลลิกาเทวีทำความดีชั่วชีวิต ถวายทานอันยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า อสทิสทาน ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งมีผู้ถวายได้เพียงคนเดียว และคนนั้นต้องเป็นสตรีเพศ ตอนใกล้ตายจิตใจเศร้าหมอง เพราะไปนึกถึงกรรมที่เคยสะดุดเท้าพระสวามี ตายแล้ว เอาเท้าไปจุ่มในนรกถึงตาตุ่ม ๗ วัน แล้วก็ขึ้นสวรรค์ไปเสวยทิพยวิมาน(รูปแบบคล้าย "ไฟชำระ" ในคริสตศาสนาเลย)



และยังมีคำสอนจากครูบาอาจารย์ถึงการทำสังฆทาน แล้วสามารถป้องกันการตกนรกได้ในระดับหนึ่ง ฟังแล้วดูเหมือน เป็นการเอานรกมาขู่ เพื่อหาทรัพย์เสียมากกว่า บุญแค่ไม่กี่บาท ทำสังฆทาน จักไปชดเชยบาปกรรมที่ทำมาได้อย่างไร อย่างนี้ก็คล้ายว่า คนเราสามารถโกงบาปได้ ด้วยการทำบุญ ไม่ตรงกับคำสอนของพระศาสดาว่า ทำอย่างไร ได้อย่างนั้น



ถังสังฆทานนั้น ก็เป็นสังฆทานเวียน ใช้แล้วใช้อีก มันจะไปเกิดบุญตรงไหน



ได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างครับว่า จะสร้างไปทำไมหนักหนา พวกถาวรวัตถุนั่น อาคารบ้านช่อง โบสถ์วิหาร สร้างให้มันเสียเงินเสียทอง ไหนจะพระพุทธรูปอีกเล่า ไม่รู้หรือว่า ศาสนาพุทธไม่มีรูปเคารพ ถึงมีก็ควรเป็นไปด้วยความมัธยัสถ์ ไว้ให้ระลึกถึงพระพุทธองค์เท่านั้น ไม่ใช่ไปประดับเพชรพลอย เสียฟุ่มเฟือย



วัดวาอารามศาลาเจดีย์ทั้งหลายก็เช่นกัน ไปสร้างกันไว้ทำไม สร้างแล้วก็ไม่มีพระอยู่ ปล่อยร้าง เสียสตุ้งสตางค์โดยใช่เหตุ



images110



นั่นเป็นความเห็นของผู้ที่ย่างเหยียบเข้าไปในวัด อย่างผิวเผิน ไม่รู้พระธรรมวินัย ไม่ได้ศึกษาธรรมะโดยรอบครอบทั่ว แล้วก็ไปตัดสินจากภาพที่เห็น จากปัญญาของตนเอง จากอคติที่ไม่เคยศึกษาหลักธรรมให้ถ่องแท้ หรือบางทีก็ศึกษาธรรมจากครูบาอาจารย์ที่ตนชอบใจเพียงไม่กี่ท่านแต่ไม่ได้ไปถาม วัตถุประสงค์แท้จริงในการสร้าง กับตัวผู้สร้างเองแล้วก็จินตนาการเอาเองไปต่าง ๆ นานา ตามบรรทัดฐานที่ครูบาอาจารย์นั้น ๆ วางไว้



ฟังมาว่า ครูบาอาจารย์ท่านเปรียบการทำสังฆทาน กับเรือ ทำมาก เรือก็ลำใหญ่มาก บาปกรรมเล็กน้อย เหมือนก้อนหิน โยนหินลงเรือ ถ้าจำนวนไม่มาก ก็ยากจะทำให้เรือจมได้ ฉันใดก็ฉันนั้น



วันก่อนได้อ่าน "มิลินทปัญหา"ก็มาสะดุดกับคำถามของพระเจ้ามิลินทมหาราช ซึ่งคล้ายกับความสงสัยของคนผู้นั้น และข้าพเจ้าในอดีต เลยเอามาแบ่งปันกัน คำถามเป็นดังนี้ครับ



พระเจ้ามิลินท์ "ข้าแต่พระนาคเสน คำว่า ผู้ใดทำบาปกรรมตั้ง ๑๐๐ ปี แต่ว่าเวลาตายได้สติ นึกถึงพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ ดังนี้ ข้อนี้โยมไม่เชื่อ อีกคำหนึ่งว่า ทำปาณาติบาตเพียงครั้งเดียว ก็ไปเกิดในนรกได้ ข้อนี้โยมก็ไม่เชื่อ”



พระนาคเสนตอบว่า "ขอถวายพระพร ก้อนหินเล็ก ๆ ทิ้งลงไปในน้ำ จะลอยขึ้นบนน้ำได้ไหม"



"ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า"



"ก้อนหินตั้ง ๑๐๐ เล่มเกวียน เขาขนลงบรรทุกเรือ เรือก็ลอยอยู่บนน้ำได้ไหม"



"ได้พระผู้เป็นเจ้า"



"ขอถวายพระพร บุญกุศลเปรียบเหมือนเรือ เพราะธรรมดาเรือของพวกพ่อค้า มีภาระหนักหาประมาณมิได้ บรรทุกของหนักเกินไปก็จมลงในน้ำฉันใด คนทำบาปทีละน้อย ๆ จนบาปมากขึ้นก็จมลงไปในนรกได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้นผู้ที่วิดน้ำเรือให้เรือเบา ก็จะข้ามฟากไปถึงท่า คือพระนิพพานได้ฉันนั้น ขอถวายพระพร"



"ถูกดีแท้ พระผู้เป็นเจ้า"



pharmalai_07_1



น่าจะเป็นคำตอบได้ดี สำหรับผู้ที่มีความสงสัย



เรื่องถังสังฆทานเวียนนั้น หากว่ากันตามพระวินัย คือการทำ"ผาติกรรม" ซึ่งอนุญาตให้ฆราวาส สามารถนำของสงฆ์ไปใช้ได้ โดยผาติกรรมด้วยจำนวนเงินที่สมควรแก่ของสิ่งนั้น คำว่าผาติกรรม แปลว่า ทำให้เจริญขึ้น ใช้ในวินัยว่า การจำหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์ของสงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง



ฉะนั้น สังฆทานเวียน ก็ทำถูกต้องตามพระวินัย คือ นำไปให้ญาติโยมใช้ถวายสังฆทานใหม่ โดยญาติโยมไม่ต้องไปซื้อชุดสังฆทานใหม่มาถวาย ซึ่งมีเต็มวัด(โดยมากจะเหลือใช้ครับ) อยู่แล้ว อีกประการหนึ่ง เงินที่ใช้ผาติกรรม ก็ไม่ได้กำหนดว่า เท่านั้นเท่านี้ ทำบุญตามกำลังศรัทธา ครับ ตรงนี้ทำให้ญาติโยมที่ยากจน ก็มีโอกาส สามารถถวายสังฆทาน อันมีอานิสงส์มากได้ ปัจจัยที่ได้ สงฆ์ก็สามารถนำไปใช้ในกิจการของสงฆ์ได้หลากหลายกว่า ชุดสังฆทาน(ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ไม่ควรถวายชุดสังฆทานนะ เพียงแต่อยากชี้ให้คนที่มีอคติ เห็นว่า มันเกิดประโยชน์อย่างไร การทำบุญท่านอยากทำแบบไหน ก็ทำไปเถอะ ไม่มีข้อห้าม ขอให้ตั้งใจให้ดีเท่านั้น)



อย่างไรก็ตาม ก็สมควรพิจารณาพฤติกรรมของพระด้วยครับ ถ้าเกิดว่า เราเทียวไปวัดนี้บ่อย ๆ ก็ควรสังเกตุสักหน่อย แต่ถ้าแวะเข้าไปเพียงหนเดียว ก็อย่าไปใส่ใจอะไรมากเลยครับ ถวายไปแล้ว บุญสำเร็จแล้ว ไปเล็งดู อาจจะเสียกำลังใจไปเปล่า ๆ



การทำบุญนั้น บุญเกิดที่ใจเป็นหลักก็จริง แต่หากว่า เรารู้ทั้งรู้ว่า การผาติกรรมนั้น เป็นไปโดยไม่บริสุทธิ์ เงินที่เราทำบุญไป ไม่ได้เอาไปเป็นของส่วนกลาง หรือ เป็นของสงฆ์ หรือ เอาไปทำให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น ก็อาจทำให้เรามีจิตเศร้าหมองในภายหลัง ฉะนั้นต้องอาศัยการสังเกตุสังกาบ้างละครับ



อย่างวัดที่น่าจะเรียกได้ว่า เป็นต้นแบบ ของสังฆทานเวียนเลยก็ว่าได้ หรือ อาจไม่ได้ทำเป็นวัดแรกหรอก แต่ถูกโจมตีเยอะ เพราะคนที่ไม่ได้มองด้วยธรรม แต่มองด้วยโมหาคติ (อคติเพราะความหลง) มันเยอะ ก็เป็นวัดของครูบาอาจารย์ของข้าพเจ้าเองนี่แล



pharmalai_04_1



ก็ใช่ว่า ข้าพเจ้านับถือท่านว่า เป็นครูบาอาจารย์แล้ว ข้าพเจ้าต้องเห็นด้วยกับท่านไปเสียทั้งหมด หรือมองท่านด้วยฉันทาคติ (อคติเพราะความรัก) ตลอดเวลา บางทีข้าพเจ้าก็ต้องคิดพิจารณาให้ถ้วนถี่แหละครับ ฟังทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายที่กล่าวหา และฝ่ายถูกกล่าวหา ดูว่าเหตุผลฝั่งใด สมเหตุสมผลมากกว่ากัน



สมัยหนึ่ง หลวงพ่อก็ถูกพระนักเทศน์ชื่อดัง กล่าวหาครับว่า จะสร้างวัดไปทำไมให้ใหญ่โตมโหฬาร เกินความจำเป็น น่าจะเอาเงินไปช่วยเหลือคนยากจน ตกทุกข์ได้ยากเสียดีกว่า สิ่งที่พระรูปนั้นพูด เขาไม่เคยมาวัด ตอนที่วัดมีงานครับ ขนาดศาลาขนาดใหญ่จุคนได้เป็นหมื่น ยังล้นเลยครับ และพอคนมาก ก็ต้องมีการสร้างที่พักไว้รองรับ ที่พักนั้นก็อยู่ในเขตวัด เป็นสมบัติของสงฆ์ หลวงพ่อก็ให้เขามาทำบุญสร้างห้องของตัวเองครับ มาวัดเมื่อไหร่ ก็จะมีห้องพัก หรือหากไม่มีคนใช้ ไม่ได้มา ก็เปิดให้คนอื่นใช้ เป็นสาธารณะ และใช้ได้ชั่วลูกชั่วหลาน การสร้างที่พักชั่วคราวเช่นนี้ ก็จัดเข้าเป็นวิหารทานกับเขาด้วยครับ เงินที่เรียกเก็บก็น้อยกว่าค่าก่อสร้างจริงมากครับ เพราะพอถึงตอนสร้างจริง หลวงพ่อก็มีวิธีประยุกต์ให้ราคาต่ำลงไปกว่าค่าก่อสร้างทั่วไปอีก เป็นการใช้เงินที่ญาติโยมถวายมาเป็นสังฆทาน อย่างหาค่าสัมประสิทธิ์ความคุ้มค่า ไม่ได้เลยครับ บุญบาทหนึ่ง มันก๊อปปี้ตัวเองไม่รู้กี่รอบ



รอบแรก ผาติกรรม ชุดสังฆทาน เข้ามาเป็นเงินสงฆ์ รอบสอง ชุดสังฆทานถวายสงฆ์ เป็นสังฆทาน รอบสาม เงินที่ได้นั้นเอาไปสร้างถาวรวัตถุในบวรพระพุทธศาสนา เป็นวิหารทาน และรอบสี่ ถาวรวัตถุนั้น ก็มีการลดต้นทุนค่าก่อสร้างจนถึงที่สุด



แม้ปัจจุบัน จะไม่ใคร่ได้มีการก่อสร้างถาวรวัตถุแล้ว แต่ก็มีค่าบูรณะครับ ตึกรามบ้านช่องขนาดใหญ่มากมาย จะไม่มีค่าซ่อมแซมเลยหรือ ก็ได้เงินปัจจัยจากการผาติกรรมชุดสังฆทานนี่ละครับ ไปบูรณะซ่อมแซม มองแบบกลาง ๆ นะครับ ท่านว่าสมเหตุสมผลหรือไม่



เรื่องการสร้างพระพุทธรูปก็เช่นกัน จะประดับเพชร ประดับพลอย ปิดทองให้วิลิศมาหราแค่ไหน ก็เป็นเรื่องของญาติโยมครับ เป็นเจตนาของญาติโยม พระไม่เกี่ยว พระไม่ได้ไปเจ้ากี้เจ้าการให้เขาเอาเพชรมาประดับ พระมีหน้าที่ชี้แจงว่า การประดับเพชร ประดับพลอย ปิดทอง พระพุทธรูป มีอานิสงส์อย่างไร ส่วนญาติโยมจะตัดสินใจทำอย่างไร ก็เป็นเรื่องของเขา ส่วนเขาจะมาให้พระทำให้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง



พวกวัตถุธาตุทั้งหลายนี่ เคยเขียนไปแล้วในเอ็นทรี่ How to ทำอย่างไรให้ถึงนิพพาน พระธรรมขันธ์ที่ ๑ ว่า คนที่เขามองด้วยธรรม เขาไม่ได้มองที่ตัววัตถุครับ วัตถุธาตุ เป็นเพียงสื่อของใจ เท่านั้น พระพุทธเจ้าเองก็เคยตรัสว่า พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต-การบูชาพระพุทธเจ้า ทำให้มีเดชมาก ก็นี่ท่านทั้งหลายเขาบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยการสร้างรูปแทนพระพุทธเจ้า ประดับเพชร บูชาพระพุทธเจ้า เขาไม่ได้มองว่า ปูนเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ได้มองว่า เพชรเป็นของมีค่่าอะไร ประดับไปก็เพราะทางโลกให้การยอมรับว่า เพชรมันสวย ทุกคนเห็นก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พระพุทธรูปประดับเพชรนั้นสวย แต่เพชรที่สวยเลอค่าล้ำอนาคตนั้น ผู้สร้างทราบดีว่า ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้สักเม็ดเดียว ผู้สร้างจึงนำเพชร ที่ทางโลกนับมันเป็นสิ่งมีค่าอย่างยิ่งยวด มาบูชาคุณพระพุทธเจ้า สำหรับผู้สร้างแล้ว เพชรไม่ได้มีค่ามากมายไปกว่าวัตถุธาตุอื่น ๆ ที่ผู้สร้างตายแล้ว ก็ต้องทิ้งทุกอย่างไว้กับโลก เอาไปด้วยไม่ได้ ดังนี้แล้วจะกล่าวได้หรือไม่ว่า ผู้ที่มาตำหนิการบูชาคุณพระพุทธเจ้า ของผู้อื่น เป็นผู้ที่มองโลกแคบเกินไป ยึดติดกับวัตถุธาตุมากเกินไป และดูเหมือนจะค้านพระพุทธพจน์ที่ว่า "พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต" เพราะเขาเห็นว่า เอาเงินไปทำอย่างอื่น มีคุณมากกว่า



pharmalai_01_1



ย้อนมาดูกรณีของ พระนางมัลลิกาเทวี กับ มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร สองหน่อนี้เป็น exceptional case study หรือ กรณีศึกษาพิเศษ ของเรื่องบุญบาปเลยทีเดียว เนื้อความก็คือ พระนางมัลลิกาเทวี เป็นมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชั่วชีวิตทำความดีไม่เคยเว้น ยิ่งกว่า นางวิสาขามหาอุบาสิกาเสียอีก ทว่า เมื่อพระนางเสด็จสวรรคต พระเจ้าปเสนทิโกศลไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เวลานี้ พระนางไปจุติที่ไหนแล้ว พระพุทธเจ้านิ่งเสีย เพราะหากพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทราบว่า มเหสีที่ทำความดีเลิศเลอเพอร์เฟ็คขนาดนั้น ขณะนี้กำลังเอาเท้าแช่อยู่ในนรก แค่ตาตุ่ม พระเจ้าปเสนฯ คงไม่เป็นอันทำบุญแล้ว พระองค์รอจนถึงวันที่ ๘ จึงเฉลยให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบว่า พระนางไปจุติในสวรรค์แล้ว



ที่พระนางต้องไปเสวยทุกขเวทนา เอาเท้าจุ่มในนรกเสีย ๗ วัน ก็เนื่องจากเคยไปสะดุดเท้า พระสวามีเข้า "ครั้งเดียวในชีวิต" ตอนตาย จิตเกิดความเศร้าหมอง ระลึกถึงบาปที่เคยไปสะดุดเท้าพระสวามีไว้ เลยลงนรกไป (ทั้ง ๆ ที่พระเจ้าปเสนฯ ไม่ได้โกรธ ไม่ได้เอาผิดเลยแม้แต่น้อยนะ แต่จิตของพระนาง ประหวัดคิดมากไปเอง)



กรณีของมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ก็เช่นกัน ชั่วชีวิตทำความชั่วไว้มากมาก พอใกล้ตาย คิดถึงพระพุทธเจ้าหน่อยเดียว ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระเจ้ามิลินทมหาราช ทราบความแล้ว เป็นงง เลยถามพระนาคเสน ถึงความไม่สมเหตุสมผล ของอำนาจบุญและบาป



ทีนี้มันมาโจ๊ะเข้ากับการอ่านหนังสือ เตรียมสอบนักธรรมโทของข้าพเจ้า อีตรง "อภิฐาน" ฐานะอันยิ่ง ๖ ประการ ตอนเรียนในห้องเรียน ผู้สอนก็ไม่ได้ให้ความกระจ่างสักเท่าไหร่ครับว่า ทำไมถึงเป็นฐานะอันยิ่ง อภิฐาน ๖ ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ ผนวกเข้ากับโบนัสพิเศษอีก ๑ ข้อ คือ บวชเป็นภิกษุอยู่ในบวรพระพุทธศาสนา แล้วดันไปนับถือศาสดาอื่น ส่วนอนันตริยกรรม ๕ นั้น จะขอทบทวนอีกสักรอบ ดังนี้



๑. ฆ่าพ่อ



๒. ฆ่าแม่



๓. ฆ่าพระอรหันต์



๔. ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงห้อพระโลหิตขึ้นไป



๕. ทำสังฆเภท (ยุสงฆ์ให้แตกกัน)



ก็สงสัยมานานแล้วครับ เพราะในกรณีศึกษา พระเจ้าอชาตศัตรู ฆ่าพระเจ้าพิมพิสาร พ่อของตัวเอง ด้วยการยุยงของพระเทวทัต ภายหลังสำนึกผิด ทำแต่ความดีตลอดชีวิต ยังไม่สามารถพ้นนรกได้ ไปจอดอยู่ที่นรกขุม "โลหกุมภี"



พอมาฟังคำอธิบายเรื่อง "อภิฐาน" ฐานะอันยิ่ง ๖ ประการแล้ว ตามแนวพระอภิธรรมแล้ว เก็ทเลยครับ ที่ว่า ฐานะอันยิ่ง คือ เป็นฐานะที่หนักมาก อกุศลกรรมที่ทำ มันหนักมาก ทำให้ต้องได้รับผลกรรมอันนี้ก่อน กล่าวคือ ไม่ว่า พระเจ้าอชาตศัตรูจะทำความดีสักเท่าไหร่ ความดีทั้งหลายนั้น จะไปเข้าคิวต่อท้่าย อนันตริยกรรม ครับ เมื่ออนันตริยกรรมให้ผลสำเร็จแล้ว กุศลกรรมทั้งหลายจึงจะให้ผล ดังนั้น ไม่ว่าจะทำความดีมากแค่ไหน ถ้าทำอนันตริยกรรมแล้วไซร้ ไม่มีทางพ้นนรกครับ แต่ก็อย่างที่กล่าวไว้เบื้องต้นว่า บุญ สามารถละลายบาปได้ ท่านอุปมา บาปเหมือน น้ำแดงเฮลซ์บลูบอยเข้มข้น การทำบุญ ก็เหมือนการเติมน้ำเปล่าลงไป น้ำแดง ยี่ห้อเด็กชายนรกสีน้ำเงิน ก็จะเจือจางไปเรื่อย ๆ แต่จะให้น้ำแดงหายไปเลยนั้น เป็นไปไม่ได้ กรณีพระเจ้าอชาตศัตรู ถ้าไม่ได้ความดีที่ทำชั่วชีวิต โทษที่แท้จริงนั้น ต้องลงอเวจีมหานรก นรกขุมสุดท้าย ลึกที่สุด ครับ นี่ตกแค่ขุม โลหกุมภี ถือว่า เบามาก



pharmalai_12_1



และความหมายอีกนัยหนึ่งของอภิฐาน ฐานะอันยิ่ง ๖ ประการ คือ ลงคนมีใจคอโหดร้าย ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ของตัวเองได้ เรื่องจะไม่ฆ่าคนอื่น เพราะความไม่พอใจ เป็นไม่มี ดังนี้จึงได้ชื่อว่า เป็นฐานะอันยิ่ง ครับ



ทีนี้มาวิเคราะห์กลับกัน อนันตริยกรรม คือ กรรมอันหนักยิ่ง แล้วฝั่งบุญเล่า มีอนันตริยบุญ บ้างหรือเปล่า คำตอบก็คือ น่าจะเป็นสังฆทาน หรือวิหารทานนี่ละครับ เป็นอามิสทาน ที่มีกำลังบุญเอนกอนันต์ สามารถเจือจางบาปได้มาก มีอานิสงส์มาก อาจเป็นเรือลำใหญ่ กันเราจมลงนรกได้ ในระดับหนึ่ง และที่สำคัญที่สุด อาจให้ผลก่อน ครับ แต่นั่นก็ยังไม่ชัวร์ครับ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำอนันตริยบุญตัวจริง ให้เกิดได้



พอดีเพิ่งได้เรียนมาอุ่น ๆ เลยวันนี้ อนันตริยบุญ ตัวจริงเขามีชื่อเฉพาะครับว่า "มหัคคตกุศล" หรือ กุศลอย่างมหันต์ นั่นเอง มี ๙ อย่าง ซึ่งก็คือ การทำสมาธิขั้นสงบลึก หรือ อัปปนาสมาธิ หรือ ฌาน ๑ - ๘ หรือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ นั่นเอง กล่าวคือ ถ้าสามารถเข้าฌานใดฌานหนึ่งได้ ใน ๘ ฌานนี้ ในตอนตาย มหัคคตกุศลตัวนี้ จะให้ผลก่อนครับ คือไปเกิดเป็นพรหม ชั้นไหน ก็ตามกำลังสมาธิ ที่ได้ละครับ



ถ้าได้ติดตาม นิทานรักชาติ ทั้ง ๑๕ ตอน จะเห็นได้ว่า พรหมมังราย จุติลงมารบ ทำปาณาติบาต ตั้งมากมาย สุดท้าย เข้าฌานตาย กลับไปเป็นพรหม เหมือนเดิม ก็อาศัย มหัคคตกุศล นี่ละครับ



อาจจะมีคนสงสัยว่า ก็แล้วพระเทวทัตเล่า ท่านได้อภิญญา ๕ ฌานสมาบัติเหล่านี้ เป็นของหมู ๆ สำหรับท่าน ทำไมท่านโซ้ยอนันตริยกรรมไปแค่ ๒ รายการเท่านั้น คือ ทำสังฆเภท กับทำร้ายพระพุทธเจ้า เวลาตาย เข้าฌานตาย หนีผลของอนันตริยกรรมไปก็สิ้นเรื่อง เข้าใจคิดดีครับ แต่เสียใจด้วยครับ เพราะตั้งแต่พระเทวทัตทำร้ายพระพุทธเจ้าแล้ว กลับกุฏิไป ฌานเสื่อม อภิญญาหาย ครับ ดังนี้แล้ว แสดงว่า ผลของอนันตริยกรรม รุนแรงกว่า มหัคคตกุศล ครับ ฉะนั้น อย่าเผลอไปทำเข้าเชียว



วกกลับมาที่คำถามตอนต้นครับว่า การฆ่าคน กับการช่วยคน มันหักล้างกันได้หรือไม่ อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะได้คำตอบแน่นอนแล้วว่า หักล้างกันไม่ได้ และอย่างในกรณีทหารรบเพื่อชาติ ฆ่าศัตรู เพื่อให้คนแนวหลัง อยู่กันอย่างสุขสงบ หรือ กษัตริย์ที่กู้ชาติ ฆ่าศัตรูมากมาย เพื่อรวมน้ำใจให้เป็นหนึ่ง ก็จะเป็นอย่างที่อธิบายมาครับว่า เจตนาที่จะช่วยคนทั้งชาติ มันมีกำลังมากกว่า การเข่นฆ่าศัตรูเพียงไม่กี่คนครับ ดังนั้นกรรมที่มีเจตนาช่วยคนทั้งชาติ จึงอาจให้ผลก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องรับผลกรรม อันเกิดจากปาณาติบาตนะครับ เพียงแต่กุศลกรรมให้ผลก่อน เท่านั้นเองครับ



pharmalai_13_1



สรุปแล้ว จะไปสวรรค์ หรือนรกนั้น ขึ้นกับจิตสุดท้ายเป็นสำคัญครับ ดังที่ข้าพเจ้าได้เคยอ้างพระพุทธพจน์อยู่เสมอ ๆ คือ จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกังขา กับ จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขาซึ่งแปลเป็นใจความได้ว่า ตอนตาย หากจิตเศร้าหมอง ทุคติ เป็นอันหวังได้ และ ถ้าจิตไม่เศร้าหมอง สุคติ เป็นอันหวังได้ แปลไทยเป็นไทยอีกที ก็คือ ถ้าตอนตายจิตเกิดเศร้าหมอง นึกถึงอกุศลกรรม ที่ได้ทำมา ก็ไปรับผลของอกุศลก่อน แต่ถ้าจิตจับสิ่งที่เป็นกุศล ก็ไปรับผลของความดีก่อน ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท ถ้าเราไม่สามารถทำฌานสมาบัติให้เกิดได้ เราก็ควรทำพวกอนันตริยบุญ พวกสังฆทาน วิหารทาน ไว้เยอะ ๆ ครับ กันตกนรกได้ในระดับหนึ่งทีเดียว



เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ edit by Dhammasarokikku

How to ทำบุญอย่างไร ให้รวยทันตาเห็น


264464_198001233583759_100001216522700_626048_6460349_nมีทฤษฎีการทำบุญมากมายที่เราได้ยินกัน ทำบุญถวายข้าวสารให้วัด ทำให้ชาติหน้า มีโภคทรัพย์มาก ทำบุญบูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้สด ทำให้ชาติหน้า ได้แฟนสวย อายุน้อย ทำบุญปิดทอง พระพุทธรูป ชาติหน้าเกิดมา มีผิวพรรณสวยงาม และอื่น ๆ อีกมากมาย วันนี้เรามีพิธีกรรับเชิญมาช่วยเพิ่มสีสันของการทำบุญปีใหม่ ได้แก่ คุณน้อง ครับ



คุณน้อง : หลวงพี่คะ ทำบุญอย่างที่หลวงพี่ว่า ล้วนแล้วแต่ต้องรอชาติหน้า ชาติโน้น ชักช้า เสียเวลา มีทำบุญแบบได้ผลรวดเร็วทันใจ ทำปุ๊บ เห็นผลปั๊บ มีบ้างไหมคะ



สมีรี่ : มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหลายตอน ครับว่า ทำบุญกับพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ จักเป็นเศรษฐีทันตาเห็น ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติ แล้วไปโปรดคนยากคนจนเป็นประจำ มีพระมหากัสสปะ เป็นต้น คนใส่บาตรท่าน บางทีข้าวทั้งนากลายเป็นทองบ้าง มีทองผุดขึ้นมาจากที่ดินบ้าง แม้กระทั่งผู้เป็นใหญ่ในเทวดาทั้งหลาย อย่างพระอินทร์ใส่บาตรท่านแล้ว ยังไ้ด้บุญมาก มีรัศมีกายสว่างไสวกว่าเดิม เหนือเทวดาทั้งหลาย



คุณน้อง : ปัดโธ่... หลวงพี่... นั่นมันเรื่องราวตั้งสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว แถมสมัยนี้ จะหาพระเข้านิโรธสมาบัติได้ที่ไหน เอาแบบง่าย ๆ หน่อยดิ ไปทำบุญที่วัดข้างบ้านได้ปะ... อยากรวยอะ รวยเร็ว ๆ ด้วยนะ เอารวยชาตินี้นะ ไม่รอเอาชาติหน้าด้วย



สมีรี่ : โถ... โถ... โถ... คุณน้องจะใจร้อนไปถึงไหน ทำบุญให้ได้ผลไวนั้นต้องใจเย็น ๆ นะ



ประการแรก คุณน้องต้องทราบให้ชัดก่อนว่า การทำบุญให้มีอานิสงส์มาก ขึ้นกับปัจจัย ๓ อย่าง นั่นคือ



268128_198001376917078_100001216522700_626052_2115619_n



๑. ผู้ให้ทาน



๒. วัตถุทาน



๓. ผู้รับทาน



เรื่องนี้เขียนไปอย่างน้อย ๒ เอ็นทรี่แล้วแล แต่ก็ยังมีคนพลาดไม่ได้อ่านอีกมากมาย แถมทำลิงค์ไว้ ก็ไม่ยอมไปหาอ่านอีกแน่ะ เลยต้องมาพล่ามซ้ำซาก อีกสักรอบ เอาแบบย่อ ๆ ก็แล้วกัน คือ ผู้ให้ทานต้องมีใจยินดีกับการให้ และต้องยินดีทั้ง ๓ กาล คือ ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ วัตถุทานต้องบริสุทธิ์ ไม่ไปทำบาปเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุทาน ส่วนข้อสามนั้น ท่านเทียบสเกลไว้ให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ ครับ



ทำทานให้สัตว์เดรัจฉาน ๑๐๐ ครั้ง ไม่เท่าทำทานให้คนมีศีล ๕ ไม่ครบ ๑ ครั้ง



ทำทานให้คนมีศีล ๕ ไม่ครบ ๑๐๐ ครั้ง ไม่เท่าทำทานให้คนรักษาศีล ๕ ครบ ๑ ครั้ง



ทำทานให้คนรักษาศีล ๕ ๑๐๐ ครั้ง ไม่เท่าทำทานให้คนรักษาศีล ๘ ๑ ครั้ง



ทำทานให้คนรักษาศีล ๘ ๑๐๐ ครั้ง ไม่เท่าทำทานให้พระที่รักษาศีล ๒๒๗ ๑ ครั้ง



ทำทานให้พระที่รักษาศีล ๒๒๗ ๑๐๐ ครั้ง ไม่เท่าทำทานให้พระโสดาปัตติมรรค ๑ ครั้ง



ทำทานให้พระโสดาปัตติมรรค ๑๐๐ ครั้ง ไม่เท่าทำทานให้พระโสดาปัตติผล ๑ ครั้ง



ไล่เรื่อย ๆ ขึ้นไป ว่าโดยย่อ คือ พระโสดาปัตติผล < พระสกทาคามีมรรค < พระสกทาคามีผล < พระอนาคามีมรรค < พระอนาคามีผล < พระอรหัตตมรรค < พระอรหัตตผล < พระปัจเจกพุทธเจ้า < พระพุทธเจ้า < สังฆทาน < วิหารทาน



222629_183706478346568_100001216522700_534181_941617_n



ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ว่า จะมีอานิสงส์เป็นร้อยเท่า ขึ้นไปเรื่อย ๆ เช่นนี้หรอก แต่อานิสงส์มันเทียบกันไม่ได้ต่างหาก เขาถึงเรียกพระอริยเจ้าว่า เนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ซึ่งหมายถึง หว่านข้าวเปลือกไป ๑ เมล็ด อาจได้ผลกลับมาหลายเกวียน หรือหลายกระสอบ ขึ้นอยู่กับว่า พระที่คุณน้องไปทำบุญด้วย มีความบริสุทธิ์ของจิต ระดับไหน



คุณน้อง : หลวงพี่คะ แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า พระที่คุณน้องไปทำบุญด้วย เป็นพระอริยเจ้าล่ะคะ (พระอริยเจ้า คือ พระโสดาปัตติมรรค ขึ้นไป)



สมีรี่ : ก็ขอตอบว่า ไม่มีทางรู้หรอก คุณน้องเอ๋ย ได้แต่เดา ๆ เอา จริยาพระอรหันต์ ท่านจะไม่ติดกับขันธ์ ๕ หรือไม่ติดกับร่างกาย ทว่าเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ท่านติด หรือไม่ติด การเจรจาพาที ไม่สามารถเฉลยคุณธรรมในใจได้



คุณน้อง : อย่างนี้ก็ไม่มีทางทำบุญให้ได้ผลเยอะ ๆ ให้ได้ผลไว ๆ ซีคะ เพราะพระแถวบ้านคุณน้อง ดูท่า่คงจะไม่ใช่พระอริยเจ้าแหงม ๆ



สมีรี่ : มีสิจ๊ะคุณน้อง คุณน้องก็หันไปทำสังฆทานก็ได้ สังฆทาน คือ ทานที่ถวายพระสงฆ์ โดยไม่เจาะจงรูปใด รูปหนึ่ง ถวายให้เป็นของส่วนรวมว่างั้นเหอะ อย่างนั้นแม้ผู้รับ(ผู้แทนสงฆ์) ไม่ใช่พระอริยเจ้า ก็มีอานิสงส์ยิ่งกว่าถวายกับพระพุทธเจ้าโดยตรงซะอีก



คุณน้อง : ใช่ถังเหลือง ๆ ที่คุณน้องเอาไปถวายเป็นประจำหรือเปล่าคะ



สมีรี่ : แม่นแหล่ว



259868_198001820250367_100001216522700_626061_8211606_n



คุณน้อง : โห... หลวงพี่คะ คุณน้องก็ทำเป็นประจำแหละค่ะ ไม่เห็นมันจะรวยเป็นแม้วอะไรขึ้นมาเลยค่ะ



สมีรี่ : อ๋อ... อานิสงส์มาก กับได้ผลเร็ว มันคนละเรื่องกันหน่ะ คุณน้อง อานิสงส์นั้น คุณน้องได้แน่นอนอยู่แล้ว แต่เมื่อไหร่ไม่รู้ ถ้าอยากให้อานิสงส์ส่งผลเร็ว เหมือนติดจรวด ก็ต้องถวายให้แด่พระที่มีความบริสุทธิ์ของจิตสูง ๆ เช่น พระอรหันต์ หรือพระที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ



คุณน้อง : โธ่... หลวงพี่ หลอกให้อ่านมาตั้งนาน มันก็ไม่เห็นจะแตกต่างจากที่คุณน้องรู้มาเลย ถึงคุณน้องทราบ คุณน้องก็ไม่รู้จะไปหาพระอรหันต์ที่ไหนอยู่ดีแหละเจ้าค่ะ



สมีรี่ : ไม่เห็นจะยาก ก็ถวายให้พระพุทธเจ้าโดยตรงเลยซี้



คุณน้อง : ห๊ะ... ถวายให้ท่านได้ด้วยหรือคะ ท่านปรินิพพานไปแล้วตั้งสองพันห้าร้อยกว่าปี ไม่ใช่หรือคะ



สมีรี่ : ถวายได้ซี้ พระพุทธเจ้ายังคงอยู่ ทุกหนทุกแห่งนั่นแล ขึ้นอยู่กับว่า ใจของคุณน้องสัมผัสพระองค์ได้หรือเปล่า เอาอย่างนี้ซี เวลาถวายสังฆทานหน่ะ ให้กำหนดจิต ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ขออาราธนาพระองค์เสด็จมาเป็นประธาน รับสังฆทานที่คุณน้องถวาย แค่นี้คุณน้องก็ได้อานิสงส์เต็ม แล้วแถมให้ผลเร็วอีกต่างหาก



คุณน้อง : อ๋อ... อย่างนี้นี่เอง แต่หลวงพี่คะ อย่างนั้นก็ไม่เห็นจะเป็นหลักประกันอะไรเลยนี่คะ ว่าคุณน้องทำบุญแล้ว คุณน้องจะรวยแน่ ๆ รวยเห็น ๆ รวยเร็ว ๆ ทำบุญแล้วให้รอลม ๆ แล้ง ๆ อย่างนี้ มันก็เหมือนกับที่เขาโฆษณาให้ไปทำบุญกัน ไหนหลวงพี่โฆษณาไว้หัวเอ็นทรี่ว่า ให้รวยทันตาเห็นไงคะ



สมีรี่ : ความจริงแล้ว คุณน้องก็รวย ตั้งแต่คิดจะทำแล้วหล่ะ เพราะ "ความรวย" แท้จริง มันอยู่ที่ใจของคุณน้องเอง ถ้าคุณน้องรู้จัก "พอ" เมื่อไหร่ คุณน้อง ก็ "รวย" เมื่อนั้น การทำบุญทำทาน โดยคิดจะสละออก มันไปละความโลภ คิริมานนทสูตร กล่าวไว้ว่า ยิ่งคุณน้องละกิเลสได้มากเท่าไหร่ คุณน้องก็ได้บุญมากเท่านั้น ความโลภ ก็เป็นกิเลสตัวเอ้ ตัวหนึ่ง ซึ่งทำให้เราไม่เคย "พอ" อยากได้โน่น อยากได้นี่ ตลอดเวลา ซึ่งก็หมายถึงว่า ถ้าคุณน้องยังโลภอยู่ คุณน้องก็เป็นคนจนตลอดเวลา นั่นเอง



ฉะนั้น ถ้าคุณน้องทำบุญ ด้วยหวังให้ได้อานิสงส์มา41159_118860934831123_100001216522700_135592_693262_nก ๆ ได้บุญมาก ๆ ได้ลาภสักการะอันเกิดจากอานิสงส์ของบุญนั้นไว ๆ ทำบุญด้วยความอยากมีหน้ามีตาในสังคม เช่นนั้น คุณน้องทำบุญแล้ว ก็อาจจะยิ่งจนลง เพราะทำไปแล้ว ความโลภคุณน้อง ไม่ได้ลดลง บางทีก็อาจมากขึ้น และห่างไกล คำว่า "พอ" ยิ่งขึ้น บุญที่ได้ก็น้อยตามไปด้วย



ตรงข้าม ถ้าคุณน้องทำบุญ ด้วยเจตนาละความโลภ สละออกเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ หวังเพียงเพื่อละความโลภของตนเอง ไม่ได้หวังว่า มันจะมีอานิสงส์อะไร เช่นนั้น ก็ละความตระหนี่ถี่เหนียวของคุณน้อง เข้าใกล้คำว่า "พอ" มากขึ้น และเมื่อไหร่ที่คุณน้องเข้าถึงคำว่า "พอ" คุณน้องก็เป็นเศรษฐีในชั่วพริบตา ทีเดียว



นี่ละ ความหมายของการยิ่งทำบุญ ยิ่งรวย คุณน้องเข้าใจใช่ไหมจ๊ะ



คุณน้อง : แจ่มแจ้งเจ้าค่ะ อย่างนี้คุณน้องก็เริ่มจะรวยทันตาเห็นขึ้นมาแล้วหล่ะค่ะ ด้วยการทำบุญโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเลยใช่ไหมคะ



สมีรี่ : ถูกแล้วครับ คุณน้อง ถ้ามีโอกาสก็แบ่งปันสิ่งที่เรามี ให้ผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม เป็นสาธารณประโยชน์ ก็จะเป็นคุณอันประเสริฐ เพราะเราไม่ได้เจาะจงให้ใครเป็นพิเศษ มีอานิสงส์มากเช่นกันครับ



คุณน้อง : กราบขอบพระคุณหลวงพี่ที่ช่วยให้ความกระจ่าง และขอกราบนมัสการลาเจ้าค่ะ



สมีรี่ : เจริญพร นะคุณน้อง ร่ำรวย ๆ เฮง ๆ ตลอดปีใหม่นะคุณน้อง และผู้อ่านทุกท่าน คิดหวังสิ่งใด ขอจงสำเร็จทุกประการ เอวัง โหตุ นะจ๊ะ



เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ



cadit  by Dhammasarokikku

How to วิธีเป็นหนุ่มคงกระพัน สาวสองพันปี แบบฟรี ๆ


post-3945-1191474765



ไม่อินกระแสเอาซะเลยเรา วันนี้จักขอคลอดเอ็นทรี่แรกสำหรับเดือนมิถุนาแห่งการเขียน หรือ June write (หรือ June read ก็ไม่รู้แฮะ)



วันนี้นั่งทดลองทีวี ๒๑ นิ้ว ที่โยมเอามาถวาย ครับ เขาจักบริจาคไปให้ชาวเขา ข้าพเจ้าก็เอามาลองสักหน่อย ปุ่มทั้งหลายไม่ทำหน้าที่ของมันสักปุ่มเดียว ปุ่มเพิ่มเสียง กลายเป็นปุ่มเปลี่ยนโหมด TV/AV ปุ่มเปลี่ยนช่องกลายเป็นเพิ่มเสียง ทดลอง ๆ อยู่ เสียงก็ดังขึ้นเรื่อย เพราะหาปุ่มลดเสียงไม่เจอ แล้วพลันก็เปิดไปเจอหนังผี



กี๊ซซซซ.... ตกใจกัวผีในหนังหง่ะ ประมาณว่า เสียงมันดังมาก แล้วกำลังเป็นฉากผีโผล่มาพอดี คน (ในทีวี) ร้องกันวี๊ดว้่ายกระตู้วู้ ก็เลยกลัวตามเขาไป (กลางวันแสก ๆ นะเนี่ยะ) เฮ้ย... ปกติไม่ใช่คนกลัวผีนะเฟร้ย



พอสติรู้ว่า กำลังกลัว จิตมันว่างเฉยเลยแฮะ พอดีได้เวลาไปเรียนนักธรรมเอก ปิดทีวี แล้วก็เดินไปเรียน



ก็นั่งเรียนทั้งที่ใจมันว่าง ๆ นิ่ง ๆ อย่างนั้นแหละ แล้วก็หลงไปคิดเรื่องแกนของเวลา เนื้อหาในการเรียนก็ไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่ ก็เลยคิดออกไปนอกห้องเรียนเล่น ๆ



เวลาของคนเรา เท่ากันหรือไม่?



มองเผิน ๆ เวลาคนเรา ก็เหมือนจะเท่ากัน ครับ ๑ ชั่วโมงมี ๖๐ นาที ๑ นาที มี ๖๐ วินาที เท่ากัน แต่ลองจินตนาการถึงโลกที่ไม่มีนาฬิกา ไม่มีปฏิทิน ไม่มีดวงอาทิตย์ ไม่มีดวงจันทร์ ไว้ให้คอยนับวันเวลา ท่านคิดว่า เวลาของเราทั้งหลาย จักยังเท่ากันอยู่หรือไม่



สิ่งที่กำหนดเวลาของแต่ละคนอย่างหยาบ ๆ เข้าใจได้ง่าย ๆ กลับกลายเป็นความสุข ความทุกข์ ครับ



เมื่อใดที่เรามีความสุข เราจักรู้สึกว่า เวลาผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน แต่เมื่อใดที่เรามีความทุกข์ เวลากลับยืดออกไป กว่าจักผ่านได้แต่ละนาที รอแล้วรออีก



แสดงว่า เวลาของแต่ละคน ไม่เท่ากัน แล้วแถมยืดหดได้อีกต่างหาก เราจะเรียกเวลาอันเกิดความรู้สึกของแต่ละคนนี้ว่า นาฬิกาชีวะ



เมื่อใดที่เรามีความสุข นาฬิกาชีวะของเรา จักเดินช้าลง เทียบกับนาฬิกาปกติ จึงเป็นธรรมดาที่เรารู้สึกว่า เพิ่งผ่านไปนาทีเดียว แต่หันดูนาฬิกาปรากฏว่า ผ่านไปแล้วครึ่งชั่วโมง พร้อมกับอุทานว่า "ตายแล้ว สามโมงแล้วหรือนี่ เวลาช่างผ่านไปเร็วจัง"



post-3945-1191472541



กลับกันสมมุติว่าเรากำลังมีความทุกข์ เป็นคุณแม่เจ็บท้องใกล้คลอด คุณหมอบอกให้รออีกหนึ่งชั่วโมง แต่ละนาทีที่ผ่านไป จักรู้สึกเหมือนกับว่า เป็นหนึ่งชั่วโมง แสดงว่า นาฬิกาชีวะของเรา เดินเร็วขึ้น



ในทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนสหธรรมมิกของข้าพเจ้าคนหนึ่ง เล่าถึงแนวคิดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เกี่ยวกับเรื่องนี้เหมือนกัน ไอน์สไตน์ก็คิดว่า เวลายืดหดได้ ตามความเร็วสัมพัทธ์ ระหว่างผู้สังเกต กับผู้ถูกสังเกต และสามารถพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ออกมาได้ว่า เวลายืดหดได้ เป็นที่มาสูตร อีเท่ากับเอ็มซีสแควร์อันลือลั่น และเมื่อนำมาสังเกตกับนักบินอวกาศ ก็พบว่า นาฬิกาข้อมือของนักบินอวกาศเดินช้าลงจริง ๆ เพราะเขาเดินทางด้วยความเร็วสูง และนักบินอวกาศก็แก่ช้ากว่าคนที่อยู่บนโลก



จากทฤษฏีสามารถตั้งสมมุติฐานได้ว่า เมื่อวัตถุใดใด เคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากขึ้น เวลาของเขาจักช้าลง เป็นสัดส่วนกับความร็ว และเมื่อใดที่วัตถุนั้น เร็วเท่าแสง เวลาของวัตถุนั้นจักหยุดนิ่ง สมมุติฐานนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ เพราะยังไม่สามารถหาวัตถุใดมาเร็วเท่าแสงได้



เขาจินตนาการไปว่า ณ ที่ที่เวลาหยุดนิ่ง นั่นละ คือ นิพพาน เพราะนิพพาน เป็นนิจจัง เที่ยง และเป็นนิรันดร์



หันมาดูทางธรรม คนที่นั่งสมาธิได้นาน ๆ พอออกจากสมาธิแล้ว เขาจักรู้สึกว่า เพิ่งผ่านไปแป๊บเดียว เป็นไปได้ไหมว่า ความสุขอันเกิดจากการนั่งสมาธิ ทำให้นาฬิกาชีวะของเขา เดินช้าลง ซึ่งก็หมายถึงว่า คนที่นั่งสมาธิบ่อย ๆ จักแก่ช้าลงไปด้วย



มีเพื่อนสหธรรมมิกอีกคน เขาเล่าให้ฟังถึงอาการของการเข้าอัปปนาสมาธิ หรือสมาธิขั้นลึกไว้ว่า เขาเห็นอย่างละเอียดเลยว่า ขันธ์ห้า ทำงานอย่างไร นี่เสียงวิ่งมา กระทบหู เกิดวิญญาณ (การรับรู้) จิตคิดว่า นี่เสียงอะไร สัญญา (ความจำ) ก็ทำงาน บอกนี่เป็นเสียงอะไร พอรู้ว่าเป็นเสียงอะไร เช่น อาจจะเป็นเสียงเพลงฮิต หรือเพลงไทยเดิม จิตก็ปรุงแต่งเป็นสังขาร (ความคิด) และสุดท้ายให้ค่าว่าชอบใจ หรือไม่ชอบใจ เป็นเวทนา เช่น ถ้าเป็นเพลงฮิต เราก็ชอบ เป็นเพลงไทยเดิม เราไม่ชอบ เป็นต้น แยกออกเป็นกอง ๆ เป็นช่อต ๆ เหมือนดูหนังสโลว์โมชั่น ทั้งที่เวลาปกติไม่ได้เข้าสมาธิ ขั้นตอนทั้งหลายนี้เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่ถึง ๑ วินาที และคนทั่วไปดูไม่ออก พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะให้ไปดูตัวสุดท้ายตัวเดียว คือ เวทนา ว่าเราให้ค่ามันว่า มันดีต่อเรา เราชอบ ก็เป็นสุขเวทนา เราไม่ชอบ ก็เป็นทุกขเวทนา หรือเราเฉย ๆ ก็เป็นอทุกขมสุขเวทนา เรียกว่า เวทนานุปัสสนามหาสติปัฎฐาน



จากตัวอย่างข้างต้น เห็นได้ชัดเลยว่า นาฬิกาชีวะ ของคนที่เข้าอัปปนาสมาธิ เดินช้าลง ยิ่งเข้าได้ลึกเท่าไหร่ เวลายิ่งช้าลงเท่านั้น



มีหลักฐานในพระสูตร ถึงเทวดาองค์หนึ่งทำสวนอยู่ ภรรยาขอลาไปเกิดเป็นมนุษย์ มีผัว มีลูกสองคน สิ้นเวลาห้าสิบปี จนตายแล้วกลับขึ้นไปบนวิมานของสามี สามียังทำสวนอยู่เลย ทักว่า เอ๊ะ... เธอหายไปไหนมาตั้งหนึ่งชั่วโมง (ถ้าเรื่องราวคลาดเคลื่อนไปก็ขออภัย จำได้คร่าว ๆ ว่า ประมาณนี้) แสดงว่า เวลาที่คนเราไปเสพสุขบนสวรรค์ ทำให้นาฬิกาชีวะ ของเรา เดินช้าลง เทียบกับเวลาบนโลกมนุษย์ และยิ่งสวรรค์ชั้นสูงขึ้นไป นาฬิกาชีวะก็ยิ่งช้าลงเท่านั้น ในสวรรค์ชั้นพรหม เวลาแทบจะหยุดนิ่งเลยทีเดียว พรหมบางชั้นเช่นพรหมลูกฟัก จึงมีอายุแสนนาน ๘๔,๐๐๐ กัป (๑ กัป เทียบกับเวลาปัจจุบันได้ประมาณ ล้านๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ปี : ล้าน ๒๔ ครั้ง ปี หรือ สิบยกกำลังร้อยสี่สิบปี)



และท่านเอ๋ย ท่านทราบไหมว่า คนเราจักไปเกิดเป็นพรหมได้อย่างไร?



post-3945-1191474361



ต้องเข้าฌานตาย ครับ ยิ่งเข้าก๊านเข้ากัน กับสิ่งที่ข้าพเจ้าคิด



ดังนั้น หากอารมณ์ฟุ้งของข้าพเจ้า ในคลาสเรียนนักธรรมเอกเป็นจริง คนที่มีความสุขมาก ๆ ก็จักแก่ช้ากว่าคนที่เอาแต่เครียด และคนจักมีความสุขมาก ก็เนื่องจากไม่ค่อยยึดติดอะไรมากนัก ปล่อยวางกับเรื่องราวต่าง ๆ ได้ง่าย ส่วนคนที่เครียด ก็เพราะมักจะยึดติดกับโน่นนี่นั่น เช่น เวลาป่วย ก็คิดว่า มันไม่ควรจะป่วย ไม่ได้คิดว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราต้องป่วย ก็ทุกข์ ก็เครียด นาฬิกาชีวะของเขาจักเดินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็หมายถึง เขาจักแก่ลงอย่างรวดเร็ว หรือ เวลาแก่ ก็คิดว่า มันไม่ควรจะแก่ ไม่อยากแก่ ไม่ได้คิดว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราต้องแก่ ก็ไปขวนขวายหาคอร์สหน้าตึง หน้าเด้ง เสียทรัพย์มากมาย หาไม่ได้ก็เครียด แก่เร็วขึ้นไปอีก



ยังมีหลักฐานสนับสนุนความฟุ้งนี้ในพระไตรปิฎกอีกหลายตอน ครับ เช่น ชาวอุตรกุรุทวีป ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปบิณฑบาต เมื่อครั้งเสด็จโปรดพระพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระองค์ได้ตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ภิกขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุตรกุรุทวีป เป็นสถานที่รื่นรมย์ มนุษย์ในทวีปนี้ มีตัณหาเบาบางไม่ีมีการหวงแหนของกินของใช้ เลี้ยงชีพด้วยข้าวสาลีที่ไม่ต้องไถนา(ขึ้นเอง) ข้าวที่ได้ ไม่มีเปลือก จึงไม่ต้องสี ไม่ต้องขัด เวลาหุงไม่ต้องใช้ไฟ เอาข้าวใส่หม้อ วางบนก้อนหิน (หลวงพ่อฤๅษีฯบอกว่า เป็นแก้วมณี) ข้าวก็จักสุกเอง กับข้าวก็ไม่ต้องหา เพราะข้าวจักมีรสชาติตามที่ปรารถนา สิ่งทั้งหลายนี้เกิดขึ้นมาด้วยอำนาจแห่งคุณธรรม ครับ ชาวทวีปนี้มีการรักษาศีล ๕ กันเป็นปกติ ลองคิดดูว่า หากชีวิตความเป็นอยู่ของเรา ไม่มีความเครียดขนาดนี้ เราจักแก่ช้าลงไหม ในตำราบอกชาวทวีปนี้ มีอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี ครับ



หรือในยุคพระศรีอาริย์ในอนาคตอีกล้านปีเศษ ท่านว่า เวลานั้น มนุษย์เรามีอายุขัย ๘๐,๐๐๐ ถึง ๑๐๐,๐๐๐ ปี ครับ เหลือเชื่อไหม ครับ ท่านว่า คนไปเกิดสมัยนั้น หล่อหมด สวยหมด โตขึ้นมาแล้วถึงวัยหนึ่ง (ประมาณ ๒๕ ขวบ) ก็จักไม่แก่ต่อไป เป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่จนหมดอายุขัยก็ตาย มีความสุขทุกประการ เนื่องเพราะพระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้านั้น บำเพ็ญบารมีมาแบบวิริยาธิกะ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมีถึง ๑๖ อสงไขย ขณะที่พระสมณโคดมพุทธเจ้า องค์ปัจจุบัน บำเพ็ญบารมีมาแบบปัญญาธิกะ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมีเพียง ๔ อสงไขย คนยุคนี้จึงมีความเป็นอยู่อย่างที่เห็น (เวลา ๑ อสงไขย คือ เวลาที่นับไม่ได้ ประกอบด้วยหลายแสนกัป)



แม้่ครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอรหันต์ยุคปัจจุบันอย่างหลวงพ่อวัดท่าซุง หรือ หลวงปู่เทศก์ เทสรํสี ก็เคยบอก ครับว่า ถ้ามีลูกศิษย์ที่ปฏิบัติธรรมกันเยอะ ๆ ท่านจักมีอายุยืน (คาดว่า ด้วยเพราะธรรมปีติ) มีปีติ (ความสุข) เป็นปัจจัยอีกแล้ว



avatar188546_1



ดังนั้นที่เขาว่า หัวเราะวันละหน อายุยืนไปหนึ่งวัน นั่นก็อาจจะจริงอีกครับ แต่อาจไม่ได้เป็นไปตามสัดส่วนนี้



ฉะนั้นหากอยากเป็นหนุ่มคงกระพัน สาวสองพันปี แบบไม่ต้องเสียตังค์สักบาท ก็ลองมานั่งสมาธิปฏิบัติธรรมดู ครับ เมื่อท่านได้เข้าถึงความสุขจากการนั่งสมาธิ ท่านก็จักแก่ช้าลงเรื่อย ๆ และจักแก่ช้ามาก ๆ เมื่อสามารถเข้าอัปปนาสมาธิได้ (แต่พอออกมาจากสมาธิก็แก่ลงตามปกติ) ท่านว่า ผู้ที่เข้าถึง จตุตถฌาน หรือ ฌาน ๔ จักหายใจทางผิวหนัง ครับ นั่นหมายถึงเมตาโบลิซึ่มในร่างกาย ก็เกิดน้อยลงตามไปด้วย ก็แก่ช้าลงเห็น ๆ หรือ เจริญวิปัสสนาจนจิตปล่อยวาง เรื่องราวต่าง ๆ ในโลกได้มาก หาความเครียดไม่ได้ เมื่อนั้นท่านก็มีความสุขตลอดเวลา จักเป็นหนุ่มฟ้อ เป็นสาวเฟี้ยว คงกระพันตลอดกาล



อาการฟุ้งซ่านเนื่องจากหนังผี ก็เอวังด้วยประการฉะนี้ ฯ



cadit  by Dhammasarokikku

หลวงปู่เทพโลกอุดร

01082_10

หลวงปู่เทพโลกอุดร




หลวงปู่เทพโลกอุดร


Album:

หลวงปู่เทพโลกอุดร

 คลิกฟังออนไลน์ :
หลวงปู่เทพโลกอุดรตอนที่ 1.mp3


 คลิกฟังออนไลน์ :
หลวงปู่เทพโลกอุดร 02.mp3

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

How to ภาวนาอย่างไรให้มีทรัพย์ไม่ขาดสาย ตอนที่ ๑


imagesCAN4BKSX



With great power comes great responsibility...พลัง (อัพบล็อก) ที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับภาระที่ (โคตร) ยิ่งใหญ่...หลังจากหลบไปฟักตัว เพิ่มเลเวล สไปเดอร์โรไจร่า มาพักใหญ่ สมณสไปเบอร์เกอร์ (สมณะ+สไปเดอร์+บล็อกเกอร์) ก็กลับมาขยันอัพบล็อก เหมือนแมงมุมขยันชักใยเช่นเดิมกลับมาครั้งนี้ ได้คุณน้องสุดสวย มาช่วยตีไข่ใส่มาม่า เพิ่มรสชาติของธรรมะกึ่งสำเร็จรูป "รวยไวไว" ภาคต่อจากฮาว์ทูตอนก่อน



คุณน้อง : หลวงพี่คะ หลังจากคุณน้องได้สนทนาธรรมเรื่อง How to ทำบุญปีใหม่อย่างไร ให้รวยทันตาเห็น กับหลวงพี่ไปวันก่อน คุณน้องกลับไปทำกำลังใจใหม่ รู้สึกรวยขึ้นทันตาเห็นเลยเจ้าค่ะ



สมีรี่ : ดีแล้วนี่จ๊ะ



คุณน้อง : แต่ว่า หลวงพี่คะ เรื่องรวยด้านจิตใจ กับเรื่องรวยทางกายภาพนี่ มันไม่เห็นจะไปด้วยกันเลย เจ้าค่ะ



สมีรี่ : คุณน้อง หมายถึง?



คุณน้อง : หมายถึงว่า ถ้าเรารวยด้านจิตใจนี่ ก็ง่าย ๆ คือ รู้จักพอ แต่รวยด้านกายภาพนี่ ถ้าเกิดเราทำมาหากินประกอบสัมมาอาชีพตามปกติ ประหยัดตามสมควร ใช้เท่าที่จำเป็น แต่มันก็ยังไม่พอใช้ อย่างนี้จะว่าคุณน้องรวยทางกายภาพด้วย ก็ว่าไม่ได้ ถูกไหมคะ หลวงพี่มีของดีอะไร ช่วยให้รวยทางกายภาพด้วยไหมคะ



สมีรี่ : อย่างนี้เอาคาถาพระพุทธเจ้าไปภาวนาดู รับรอง รวยทั้งด้านจิตใจ และด้านกายภาพ



คุณน้อง : เดี๋ยวนะคะ ขอคุณน้องหากระดาษกับปากกาก่อน... อะ...พร้อมแล้วคะ



สมีรี่ : จดไปนะ อุ อา กะ สะ



อย่างแรก อุ คือ อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น หรือหมั่นหาทรัพย์



อย่างสอง อา คือ อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา รู้จักคุ้มครองรักษาทรัพย์ที่หมั่นขยันหามา



อย่างสาม กะ คือ กัลยาณมิตตตา คบหาคนดี เป็นมิตร เพื่อนคนไหนชวนเราไปหลงในอบายมุข เลิกคบเขาซะ คนไหนชี้ชวนกันทำมาหากิน ทำบุญทำทาน ให้รักษาไว้



อย่างสี่ สะ คือ สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตแต่พอดี พอเหมาะ พอสม ไม่อยากดัง อยากเด่น เกินฐานะ พวกมือถือแพง ๆ รถเดิ้น ๆ บ้านหรู ๆ ที่เกินสมควร ซื้อแล้วเป็นหนี้ไปอีก ๓๐ ปี ก็ไม่ขวนขวายซื้อมาจ้ะ



คุณน้อง : ความจริง คาถานี้ เหมือนคุณน้องเคยเรียนมาตอนประถมแล้วหล่ะคะ เค้าเรียกว่า คาถา "หัวใจเศรษฐี" ใช่ไหมเจ้าคะ



สมีรี่ : เยส แมม



คุณน้อง : คุณน้องเรียนมา แล้วก็คืนคุณครูไปหมดแล้วหล่ะค่ะ เรียนแล้ว แต่ไม่เคยนำไปใช้ ท่องบ่นเป็นนกแก้วนกขุนทอง นี่ใช่ไหมคะ ที่เขาเรียกว่า ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด



สมีรี่ : ก็พอรอดตัวอยู่ แต่รอดแบบกระท่อนกระแท่นจ๊ะ คุณน้อง คาถาไม่ใช่เอาไปท่องบ่นแล้่วมันจะมีทรัพย์ขึ้นมานะ ต้องนำไปปฏิบัติด้วย



คุณน้อง : แหม... ธรรมะของพระพุทธเจ้านี่ ช่างอัศจรรย์จริง ๆ นะคะ มีทั้งบู๊ ทั้งบุ๋น คุณน้องคิดว่า พระองค์สอนเฉพาะธรรมะเพื่อหลุดพ้นอย่างเดียวเสียอีก



images4



สมีรี่ : ถูกแล้วหล่ะ พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ ครอบคลุมทั้งหมด แม้ใช้ชีวิตเป็นนักบวช หรือฆราวาส ก็มีความสุขเหมือนกัน ถ้าปฏิบัติตาม ธรรมะสำหรับการครองเรือน มีชื่อว่า "คิหิปฏิบัติ" และที่มหัศจรรย์ยิ่งกว่านั้น คือ ธรรมะทั้งหลาย เป็น "อกาลิโก" ไม่ขึ้นกับกาลเวลาจ้ะ จะกี่ปี ๆ ก็ไม่เคยล้าสมัย



คุณน้อง : จริงด้วยค่ะ แต่หลวงพี่คะ คุณน้องพิจารณา "หัวใจเศรษฐี" ทั้ง ๔ ข้อแล้ว แม้คุณน้องจะลืมไปแล้ว คุณน้องก็ปฏิบัติเองอัตโนมัติมาโดยตลอด เรื่องขยันหาทรัพย์ คุณน้องก็ขยันอยู่ ไปทำงานทุกวัน เรื่องรักษาทรัพย์ที่หามาได้ ก็รักษาแบบสุด ๆ เพื่อนเลว ๆ ก็ไม่คบอยู่แล้ว ของหรูหราฟุ่มเฟือย คุณน้องก็ไม่เคยใช้ มันก็ยังไม่เห็นเป็นเศรษฐีขึ้นมาเลยค่ะ นี่ปีนี้ เขาว่าแฮมเบอร์เกอร์ไครซีสจะแผลงฤทธิ์ หลวงพี่เรียนจบทางโลกมาตั้งสูง หลวงพี่มีกลยุทธ "อิทธิฤทธิ์ พิชิตความจน" แบบแอดว๊านซ์ ต้านทานแฮมเบอร์เจอร์ใคร(เป็น)ซีส บ้างไหมคะ



สมีรี่ : มันก็มีอยู่นะ



คุณน้อง : แบบให้รู้จัก "พอ" ไม่เอานะคะ อันนั้นทราบแล้ว



สมีรี่ : ความจริง อันนี้เป็นธรรมะรุ่นลูกนะจ๊ะ เมื่อกี้เป็นธรรมะรุ่นพ่อ พวกเรารุ่นหลาน เหลน โหลน มักจะใจร้อน อยากได้อะไรเร็ว ๆ กินก็ต้องกินเร็ว ๆ ทำงาน ก็ต้องทำเร็ว ๆ รวยก็ต้องรวยเร็ว ๆ ฉะนั้น ธรรมะก็ต้องเป็นธรรมะเร็ว ๆ ทำแล้วให้ผลรวดเร็ว ธรรมะฟ๊าสต์ฟู๊ดว่างั้นเฮอะ ที่ว่าเป็นธรรมะรุ่นลูก เพราะสมัยที่พระพุทธเจ้า หรือพ่อของเรา ทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ไม่ได้สอน มาสอนตอนที่พระองค์เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพานไปแล้ว ผ่านลูก ๆ ของพระองค์ ซึ่งก็คือ "พระอริยสงฆ์" ธรรมะที่ว่า คือ "พระคาถาเงินล้าน" ของพระราชพรหมยานเถระ หรือ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เอาไปภาวนาให้จิตเป็นสมาธิ รับรอง รวยทุกคน



คุณน้อง : หลวงพี่คะ ปากกา กับกระดาษของคุณน้องพร้อมแล้วค่ะ หลวงพี่บอกมาเลย



สมีรี่ : จะเอาเลยเรอะ ไม่ฟังก่อนหรือว่า พระคาถานี้ มีความเป็นมาอย่างไร



คุณน้อง : เอางั้นก็ได้ค่ะ



สมีรี่ : พระคาถานี้ เริ่มมาแต่สมัยหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา โน้นแน่ะ คุณน้องคงเกิดไม่ทัน สมัยนั้นหลวงพ่อท่านไปเรียนมาจากครูผึ้ง ท่านว่า พระธุดงค์รูปหนึ่งให้มา ท่านเรียกคาถานี้ว่า "คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า"



คุณน้อง : พระปัจเจกพุทธเจ้า? คือใครคะ?



สมีรี่ : พระปัจเจกพุทธเจ้า คือ ผู้ที่ตรัสรู้ด้วยตนเองเหมือนพระพุทธเจ้า แต่ไม่ได้ตั้งศาสนาจ๊ะ หมายถึง ตรัสรู้แล้วไม่ได้สั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์



คุณน้อง : อ้าว... แล้วทำไมไม่สั่งสอนบุคคลอื่นล่ะเจ้าคะ อุตส่าห์ตรัสรู้ทั้งที หรือท่านไม่มีเมตตา ไม่น่าใช่ ถ้าไม่มีเมตตาพรหมวิหาร ท่านคงตรัสรู้ไม่ได้ หรือท่านมีความรู้ไม่เท่าพระพุทธเจ้าคะ



สมีรี่ : ความรู้ในทางธรรม ถือว่า เสมอกันจ๊ะ ในทางธรรมแล้ว หากใครได้รู้ "อริยสัจ" ก็ตรัสรู้ได้เหมือนกันหมด เพียงแต่พระปัจเจกฯ ท่านอธิษฐานมาแบบนี้



คุณน้อง : แล้วถ้ามีใครไปให้ท่านสอนธรรมะ ท่านจะสอนไหมคะ



สมีรี่ : สอนสิจ๊ะ



คุณน้อง : สอนได้ถึงนิพพานเลยหรือเปล่าคะ



สมีรี่ : แน่นอนจ้ะ เพียงแต่มักไม่ค่อยมีคนไปถาม สมัยก่อน ก็คล้ายสมัยนี้ เห็นหน้าพระก็คิดแต่จะทำทาน อย่างเก่งก็รักษาศีล



คุณน้อง : อย่างนี้ คุณน้องก็เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้สิคะ เพราะคุณน้องก็เรียน "อริยสัจ" มาตั้งแต่เด็กเหมือนกัน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่เห็นมีอะไรยากเลย



สมีรี่ : อ๋อ... ไม่ได้หรอก เพราะสิ่งที่คุณน้องรับรู้มา ความจริงก็คือมาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าอยากเป็นพระปัจเจกฯ ต้องตรัสรู้เองเท่านั้น ถ้าตรัสรู้ตาม จากการฟัง อ่าน ปฏิบัติตาม คำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างนี้เรียกว่า อนุพุทธ หรือ พุทธสาวก จ๊ะ



คุณน้อง : ว้า... แย่จัง แล้วอย่างนี้ คุณน้องก็รู้ "อริยสัจ" แล้ว อย่างนี้คุณน้องก็ตรัสรู้ตามแล้วสิคะ



สมีรี่ : โอ้... ม่าย ๆ ๆ สิ่งที่คุณน้องรู้มา ในทางธรรม เขาไม่เรียกว่า "รู้" เขาเรียกว่า "จำ" ได้ ปัญญาในทางธรรม มีหลายแบบ อย่างสุตตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง จินตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด ส่วนปัญญาที่ทำให้ "รู้แจ้ง" อริยสัจ นั้น ท่านเรียกว่า "ภาวนามยปัญญา"



คุณน้อง : โอ๊ะ... หลวงพี่คะ คุณน้องเป็นโรคแพ้ภาษาบาลีค่ะ ฟังภาษาบาลีมาก ๆ แล้วจะง่วงนอน นิมนต์หลวงพี่เล่าประวัติคาถาของพระปัจเจกฯ ต่อดีกว่าค่ะ



images9



สมีรี่ : โอเค... มาว่ากันต่อไป สมัยที่หลวงพ่อปาน ได้คาถาพระปัจเจกฯ มาแล้ว ก็ไม่ทราบว่า อานุภาพจะเจ๋งจริงสมคำอ้างหรือไม่ หลวงพ่อปานท่านเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาจักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ที่บารมีสูงมากแล้ว จะเชื่ออะไรสักอย่าง หากไม่มีหลักฐานเป็นแม่นมั่น ท่านไม่เชื่อง่าย ๆ เด็ดขาด ท่านจึงทดลองให้ลูกศิษย์ลูกหา เอาไปลองภาวนา การให้ของดีของท่าน ก็ใช่ว่า จะให้กันมั่วซั่ว ท่านก็ทดลองกำลังใจกันก่อน วันหนึ่งท่านก็เปรยกับศิษยานุศิษย์ ถึงอานุภาพของคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วถามว่าท่านทั้งหลายว่า มีใครสนใจเอาไปท่องบ่นบ้าง ปรากฏว่า เงียบกันทั้งฮอลล์ ท่านถามอยู่ ๓ ครั้ง เมื่อไม่มีใครสนใจ ท่านก็ไม่ได้ให้ หลังจากญาติโยมกลับกันหมดแล้ว นายประยงค์ ตั้งตรงจิตร คลานเข้ามาหาท่าน บอกเขาสนใจขอเรียนคาถาเด็ดของหลวงพ่อ หลวงพ่อปานหัวเราะในลำคอ "ดีนะ เอ็งนี่ เป็นลูกหัวปีของคาถาบทนี้ เอาไปทำดู ถ้าไม่มีผล พ่อจะไม่พิมพ์แจก" แล้วก็ให้นายประยงค์ จดคาถาไป



นายประยงค์ เป็นคนเอาจริงเอาจัง ได้คาถาไป ก็นำไปสวดมนต์เช้าค่ำ ตามคำแนะนำ เขาเปิดห้างขายยาตราใบโพธิ์อยู่ท่าเตียน ปรากฏว่า เมื่อภาวนาไปเรื่อย ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ บางทีซื้อยามาบด ผสมบรรจุขวด ลงบัญชีไว้เรียบร้อย ผสมไปผสมมา ได้ยาเกินกว่า ที่ซื้อมาบ้าง ขายไปหมดแล้ว ตามตัวเลขบัญชี กลับมียาเหลือบ้าง ที่เห็นชัด ๆ จะเป็นเรื่องของเกินสต็อก อย่างบดยางวดหนึ่ง ต้องขายได้เงินประมาณนี้ คนเป็นพ่อค้า ย่อมรู้อยู่ เมื่อภาวนาคาถานี้ไปเรื่อย ปรากฏว่า ยาล็อตหนึ่ง ได้เงินมากกว่าเดิมมาก แถมยังมียาเหลืออีกต่างหาก



คุณน้อง : ฮู้... อัศจรรย์เกินไปหรือเปล่าคะ สมัยนั้น เหตุอัศจรรย์แบบนี้ อาจเป็นเรื่องไม่แปลก แต่สมัยนี้ คุณน้องว่า แค่คนจะเชื่อเรื่องแบบนี้ ยังหายากเลยค่ะ



สมีรี่ : ไม่อัศจรรย์เกินไปหรอก บอกแล้วว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็น "อกาลิโก" ทำเมื่อไหร่ ก็ได้ผลเมื่อนั้น สมัยนั้น กับสมัยนี้ ก็ไม่แตกต่างกันหรอก สมัยนั้น คนที่ได้รู้ว่า คาถาพระปัจเจกฯ มีอานุภาพอย่างไร ก็มีตั้งหลายคน แต่มีนายประยงค์ คนเดียวที่เชื่อ แล้วลองนำไปปฏิบัติ จนเห็นผล ร่ำรวยมาจนถึงปัจจุบัน ใครทำใครได้จ้ะ



คุณน้อง : ความจริงคุณน้องว่า คาถานี้ หาง่ายจะตายไป เปิดเน็ตดู ก็คงจะมี สมัยก่อน อาจจะเกิดปาฏิหาริย์ขึ้นได้ เพราะคนรู้ไม่กี่คน สมัยนี้คนรู้เป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้าน คงมีคนเอาไปทำตั้งมาก อย่างนี้ คาถาจะได้ผลหรือคะ ถ้าคนรู้กันเยอะ ทำกันเยอะ อย่างนั้นมิรวยกันหมดประเทศหรือคะ



สมีรี่ : คาถานั้น ศักดิ์สิทธิ์เสมอมาแล เพียงแต่น้อยคนนัก จะรู้ "เคล็ดไม่ลับ" ของการภาวนา คนเอาไปภาวนา ไม่รู้ที่มาที่ไป ทำกำลังใจอย่างไรก็ไม่รู้ เอาไปทำ อาจจะได้ผลสัก ๑๐ เปอร์เซนต์ ที่เอามาโม้นี่ ไม่ใช่อะไร พอดีตอนนั่งรถไปพักฟื้นพละกำลังในการอัพบล็อกที่เชียงราย เผอิญในรถเขาเปิดเอ็มพีสามหลวงพี่สมปอง เลยได้พบเคล็ดวิชาปรมาจารย์ซังฮง



คุณน้อง : น่าสนใจจังค่ะ ตัวคาถา ความว่าอย่างไรคะ



สมีรี่ : ขออิ๊บไว้ต่อตอนหน้าได้ปะ พิมพ์จนเมื่อยแล้วเนี่ยะ



คุณน้อง : ได้ค่ะ แต่หลวงพี่ห้ามเบี้ยวนะคะ พรุ่งนี้ หรือมะรืน มาอัพบล็อกตอบคุณน้อง ซะดี ๆ นะคะ หวังว่า หลวงพี่คงเป็นเด็กดี ไม่ดื้อ ไม่ซน นะคะ



สมีรี่ : เอือม... ได้จ้ะ ๆ คุณน้อง



คุณน้อง : จุ๊พ ๆ รักคนอ่านค่ะ อย่าลืม กลับมาอ่านเคล็ดวิชารวยสะบัดสะท้านบู้ลิ้มตอนหน้านะคะ คุณน้องว่า น่าสนใจหยั่งเรงเลยละค่ะ



จบตอน ๑ cadit  Dhammasarokikku

How to ภาวนาอย่างไรให้มีทรัพย์ไม่ขาดสาย ตอนที่ ๒

imagesCAW1XA8E

คุณน้อง : โฮ่ ๆ ๆ หลวงพี่หายไปไหนมาคะ กำลังคิดถึงอยู่พอดี นมัสการค่ะ

สมีรี่ : เจริญพรจ้ะ พอดีงานเข้า มีพระท่านอยากได้ปฏิทิน ๑๐๐ ชุด เลยไปอดตาหลับขับตานอนมา ๑ คืน ส่งไปสุรินทร์แล้วเมื่อเช้า อ๊ะ... นี่มาทวงคาถาพระปัจเจกฯ ละสิ

คุณน้อง : แหม... ทำไมหลวงพี่รู้ มีเจโตปริตตัง หรือเปล่าคะเนี่ยะ

สมีรี่ : เฮ้ย... เขาเรียกว่า เจโตปริยญาณ เรียกซะเสียสถาบันหมด ไม่มีหรอกญานแญนพวกนั้น มีแต่ยานอวกาศ กับเหนียงยาน

คุณน้อง : อ้าว... แล้วทราบใจคุณน้องได้อย่างไรหล่ะคะ

สมีรี่ : ก็หน้าคุณน้องมันฟ้อง ทำหน้าโลภมาแต่ไกล บอกไว้ก่อนเลยนะ คาถานี้ ถ้าโลภหน่ะ อด!!!

คุณน้อง : อะ... ทำหน้าใหม่แล้ว ไม่โลภก็ไม่โลภ พอเพียง เพียงพอ ยุบหนอ พองหนอ พร้อมจะจดแล้วค่ะ

สมีรี่ : ยัง ๆ ประวัติพระคาถายังไม่จบเลย จะเอาพระคาถาแล้วเรอะ

คุณน้อง : หูย...หลวงพี่ ประวัติยาวจัง รอจนน้ำลายยืดหมดปากแล้วเนี่ยะ ข้ามไปตัวพระคาถาเลยไม่ได้หรือคะ

สมีรี่ : บ๊ะ... วัยสะรุ่นใจร้อนอีกละ นี่ละน้าเด็กรุ่นใหม่ แค่ทนรอฟังประวัติให้จบ ยังรอไม่ได้เลย แล้วจะเอากะใจที่ไหนไปอดทนท่องบ่นภาวนาล่ะจ๊ะเนี่ยะ เอ้า... ว่ากันแบบย่อ ๆ ก็แล้วกัน คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าสมัยหลวงพ่อปาน ก็ถูกถ่ายทอดต่อมายังหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤๅษีลิงดำศิษย์เอกของท่านนี่แหละ พระท่านก็มาช่วยเสริมเติมแต่ง ให้พระคาถา มีอานุภาพยิ่งกว่าเดิม แล้วให้ชื่อใหม่ว่า "พระคาถาเงินล้าน"

คุณน้อง : แหม... ว่าจะถามอยู่เหมือนกัน ตอนแรกว่า คาถาเงินล้าน แล้วไหงกลายเป็น คาถาพระปัจเจกฯ อย่างนี้นี่เอง

สมีรี่ : อานุภาพของ "พระคาถาเงินล้าน" ขนาดไหน ก็ลองไปดูวัดที่ท่านสร้างก็แล้วกัน ท่านเล่าประวัติพระคาถานี้ ได้มาตอนสร้างวัด เงินไม่มี พระท่านก็ให้คาถามาบริกรรม เงินก็เข้ามาไม่ขาดสาย ภายหลังเศรษฐกิจฝืดเคืองมาก ญาติโยมมีความเดือดร้อน ท่านเลยขออนุญาตพระท่าน นำมาเผยแผ่ เป็นธรรมทาน ปกติคาถาที่ได้มาจากกรรมฐาน เขาไม่บอกกันหรอกนะ

คุณน้อง : หลวงพี่คะ กระดาษกับปากกาพร้อมนานแล้วค่ะ

สมีรี่ : ดูดู๊ดู ดูเธอทำ เอ้า... ใจร้อนนักก็เอาไป

พระคาถาเงินล้าน สัมปะจิตฉามิ (พระคาถาสนองกลับ) นาสังสิโม (พระคาถาพระพุทธกัสสป, พระยาเต่าเรือน) พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (พระคาถาปัดอุปสรรค อ่านว่า พรัม มา) พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภวันตุ เม (พระคาถามหาลาภ) มหาปุญโญ มหาลาโภ ภวันตุ เม (พระคาถาเงินแสน) มิเตพาหุหะติ (พระคาถาเงินล้าน) พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโยพุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (พระคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า) สัมปะติจฉามิ (พระคาถาเร่งลาภ) เพ็งๆ พาๆ หาๆ ฤาๆ (พระคาถามหาลาภ เป็นพระคาถาโบราณ

พระปัจเจกพุทธเจ้ามาบอกพระคุณท่านฯ)

เอ้า... สมใจนึกบางลำภูหรือยัง

คุณน้อง : ยังค่ะ ไหนหลวงพี่ว่ามีเคล็ดไม่ลับด้วยไงคะ

สมีรี่ : แหม... เรื่องรวย ๆ นี่ ความจำดีขึ้นมาติดหมัดเลยนะ

imagesCACSE5JX

วิธีภาวนาตามที่ท่านแนะไว้ มี ๒ แบบ

แบบหนึ่งกำลังใจธรรมดา ให้ว่าคาถาบูชาพระเวลาสวดมนต์เช้าเย็น ๓, ๕, ๗ หรือ ๙ จบเท่ากันทุกวัน ก่อนสวดให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ว่าทั้งหมดตามจำนวนที่ตั้งใจไว้ เวลาจะเอาเงินออกจากที่เก็บ (เช่นตู้เซฟ)ให้ว่า ๑ จบ ก่อนเอาเงินเก็บ ว่าอีก ๑ จบ ก่อนใส่บาตร ว่า ๑ จบ เคล็ดลับคือ เวลาว่าพระคาถา อย่าไปหวังเอาลาภ ต้องทำจิตให้สะอาด ยิ่งจิตสะอาดมากยิ่งให้ผลเร็ว ท่านว่าภาวนาทุกวันเป็นเบี้ยต่อไส้(แปลว่า มีเงินใช้ไม่ขาดมือ)

อีกแบบหนึ่ง สำหรับผู้มีกำลังใจสูง ว่าไปเรื่อย ๆ ทั้งวัน ทำงานไปก็ว่าไป เคล็บลับเหมือนเดิมคือ ทำไปเรื่อยๆ อย่าไปหวังลาภ ท่านว่าภาวนาเช่นนี้ จะถึงแก่ความร่ำรวย

คุณรินนา : หลวงพี่คะ แล้วอย่างโยมทำแบบนี้อยู่ ใช้ได้ไหมคะ

โฮ่ๆๆๆ

ตั้งแต่ได้หนังสือซีรอกซ์จากวัดท่าพระ ตอนไปทำบุญชาวเขากับหลวงพี่รอบแรก เมื่อปีที่แล้วโน้นนน(เรียกได้ว่าพบท่านรี่หลังบวชเป็นครั้งแรกเลยนะนั่น ไปครั้งแรกก็ได้ของดีมาเลยทีเดียว) ฉันก็สวดแทบทุกวัน วันละ 9 จบค่ะ แต่เวลาสวด ก็ไม่ได้หวังเงินทองอะไรหรอกนะคะ ฉันพยายามจะอธิษฐานให้เป็นพุทธบูชา แต่เวลาสวดเนี่ย แอบดำนำอยู่เหมือนกันค่ะ รอบแรกถึงรอบที่ 4 เนี่ย สมาธิยังดี รอบที่ 5จะเริ่มแบบเอ๊ะ 5 หรือ 4 กันนะ ^^; แล้วกลับมาสมาธิดีใหม่ตอนรอบที่ 7-9อาาาาาา  

สมีรี่ : โอ้ย... นั่นละ ๆ อย่างนั้นละ ทำกำลังใจถูกต้องเลย แถมทำเองโดยไม่ได้รู้มาก่อนเนี่ยะ เขาเรียกว่า ไม่มีโลภเจตนา มีอานุภาพมากนะ คนเรา ถ้าทำกุศลใด ๆ ก็แล้วแต่ มีโลภเจตนานำหน้า อานิสงส์มันจะอ่อนด้อยลงไป แม้ปัญญาก็เกิดยาก

ลองคิดดูซี ท่านวางกับดักกิเลสรอไว้เลย ใครได้ยินชื่อคาถา อุ้ย...พระคาถาเงินล้าน ท่องแล้วจะได้เงินเป็นล้าน หรือท่องแล้วรวยใช่ไหม แม้ปากเราท่องโดยไม่มีเจตนา กายเราไม่ได้ทำเพราะอยากรวย แต่ใจเราไปแล้ว เผลอโลภไปแล้ว ขนาดสามเณรที่วัด ยังมาบ่นเลยครับว่า เขาบริกรรมคาถานี้ทีไร มันยังอดหวัง อดโลภ ไม่ได้

images1

กับดักนี้ไว้สำหรับใคร ก็สำหรับคนที่ไปหลงงมงาย ท่องบ่นโดยหวังจะรวย อยากรวย แต่ไม่ทำมาหากิน เอาแต่จะท่องอย่างเดียว อย่างนี้ท่องไปสักสามชาติ ก็ไม่รวยขึ้นมาหรอก ต้องเอาอย่างพระพุทธเจ้าไว้เป็นพื้นฐานนะ อุ อา กะ สะ ท่องไว้ หรือหวังจะรวยทางลัด ไปบ้าหวย บ้าการพนัน รับรองได้ ครับ อาชีพรวยลัดพวกนี้ ท่องคาถานี้แล้วได้จนถนัดใจ แน่นอน เพราะท่องเท่าไหร่ก็ไม่มีผล ด้วยท่องเพราะโลภ

คุณน้อง : หลวงพี่คะ คุณน้องขอสารภาพบาปนิดนึงได้ไหมคะ คือ ที่หลวงพี่ร่ายยาวมาทั้งหมดเนี่ยะ คุณน้องทราบมาก่อนแล้วค่ะ แถมท่องอยู่เนือง ๆ แม้ไม่ได้สวดประจำ ก็ไม่เห็นมีผลอะไรเลยค่ะ ที่มาติดตามจิกหลวงพี่ ก็เห็นว่า หลวงพี่ไปได้เคล็ดขัดยอก ทาถู ๆ มาจากหลวงพี่ีสมปอง ก็นึกว่าจะมีช้อกโกแล็ตพาเฟ่ต์ซันเดย์สเปเชี่ยลเอฟเฟ็คอะไรใหม่ ๆ หลวงพี่คงยังไม่ได้เผยเคล็ดวิชาที่ได้มาจากหลวงพี่สมปองใช่ไหมคะ

สมีรี่ : น่าน... โดนสอนจระเข้ว่ายน้ำเข้าไปหนึ่งดอก แถมจะโดนล้วงตับเข้าไปอีกหนึ่งดอก คุณน้องเป็นตุ๊กแกกินตับพระใช่ไหมจ๊ะเนี่ยะ รู้แล้วยังมาฟอร์ม แกล้งหลอกถาม

คุณน้อง : คุณน้องไม่ได้เป็นตุ๊กแกค่ะ เป็นสังฆราชชอบเรียนหนังสือต่างหาก เห็นหลวงพี่ชอบสอนหนังสือนี่คะ ปกติคุณน้องไม่กินแค่ตับค่ะ กินทีหมดตัวเลย

สมีรี่ : เอ้อ... สงสัยจะรีดเคล็ด กันแบบรีดปลาหมึกบดปิ้งเลยใช่ไหมเนี่ยะ

คุณน้อง : แม่นแล้วค่ะ มาให้รีดซะดี ๆ

สมีรี่ : เอ้า... ได้ อยากได้ก็จะบอก ที่คุณน้องทำอยู่นั่น ยังใช้ไม่ได้นะ ที่ว่ารู้อยู่แล้ว ท่องอยู่แล้ว แต่ไม่เห็นมีผลนั่น ก็เพราะรู้แล้ว แต่ยังทำไม่ถูก ย้อนกลับไปอ่านใหม่นะ ท่านแนะไว้ว่า ให้ท่องจำนวนจบเท่ากันทุกวัน เท่ากับที่อธิษฐานไว้ อย่างตั้งใจท่อง ๙ จบ ก็ท่อง ๙ จบทุกวัน ห้ามขาด ห้ามเว้น ไม่ใช่นึกได้ก็ท่อง นึกไม่ได้ก็ไม่ท่อง อย่างนี้ใช้ไม่ได้นะ ไม่มีสัจจะ

คุณน้อง : อ้าว... เหรอคะ นึกว่าทำตามความพอใจเสียอีก

สมีรี่ : ถ้าท่องได้จำนวนจบเท่ากันทุกวัน อ่านให้ดีนะ ท่านว่า มันจะเป็นเบี้ยต่อไส้ หมายถึง มีเงินหมุนเวียนเข้ามาไม่ขาดสาย หรือเงินไม่ขาดมือนั่นแหละ คือ ถ้าขาดจริง ๆ ก็ยังหาหยิบยืมเอาได้ เอาตัวรอดไปวัน ๆ ว่างั้นเหอะ ถ้าหวังให้มันเป็นกอบเป็นกำ ต้องทำกำลังใจให้สูงกว่านี้ ท่องไปเรื่อย ๆ ทั้งวันเป็นไง

คุณน้อง : หูย... ใครจะไปทำได้คะ อย่างนี้วัน ๆ ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้วมั๊งคะ

สมีรี่ : ก็ไม่เห็นจะยาก ความจริงเวลาคนเราวันหนึ่ง มีเวลาว่างตั้งมากมาย ที่ไม่ต้องใช้ความคิด ก็ท่องในใจมันเข้าไปสิ นั่งรอรถเมล์อยู่ เราสวดในใจ จะมีใครรู้ว่าเราสวด จะเดินห้าง ขว้างโบลว์ โชว์หุ่น อุ่นน้ำแกง แทงสนุ้ก จุกเสียดแน่น ในกระเพาะอาหาร ใช้เคลียราซิล เจ้าของเดียวกับ โทนาฟ ทำได้ทั้งนั้นแหละ รู้ไหมว่า หลวงพี่เล็ก สมัยยังละอ่อน สวดวันละกี่จบ

คุณน้อง : ไม่ทราบค่ะ

สมีรี่ : ๓๐๐ จบจ้ะ ขั้นต่ำนะ ปกติจะเกิน

คุณน้อง : โอ้โห... ตั้ง ๓๐๐ จบ คุณน้องจะทำได้ไหมคะเนี่ยะ แล้วตอนนี้หลวงพี่เล็กเป็นอย่างไรบ้างคะ

สมีรี่ : อ๋อ... ท่านนั่งอยู่เฉย ๆ ก็มีคนเอาเงินมาทำบุญกับท่าน ประมาณชั่วโมงละสองแสน

คุณน้อง : ขนาดนั้นเลยหรือคะ

สมีรี่ : ถ้่าเป็นพระ ท่องคาถานี้แล้วอายุสั้นนะ

คุณน้อง : หาาาา..... ทำไมล่ะคะ

สมีรี่ : ก็เงินมันมาเยอะ ก็ต้องสร้างเยอะ สร้างมาก ๆ ร่างกายก็ทรุดโทรม โทรมมาก ๆ ก็ป่วย ป่วยแล้วก็ตายไวจ้ะ

คุณน้อง : โห... ไม่ดีเลย แล้วมีวิธียังไงช่วยให้ท่านอายุยืน ๆ มั่งไหมคะ

สมีรี่ : อ๋อ... ไม่ยาก ครูบาอาจารย์ท่านจะยินดี เมื่อเห็นเราปฏิบัติธรรม มีความก้าวหน้า เห็นคนเจริญพระกรรมฐานกันเยอะ ๆ แล้วเกิดธรรมปีติ ธรรมปีติช่วยให้อายุยืนจ้ะ ฉะนั้น อยากให้ท่านอายุยืน ก็มาเร่งทำความเพียรของตัวเอง มีความก้าวหน้าแล้ว ก็ไปรายงานท่าน ท่านก็จะดีใจจ้ะ

คุณน้อง : แล้วอย่างนี้ ฆราวาสท่องแล้ว จะอายุสั้นด้วยหรือเปล่าคะ

สมีรี่ : ก็ถ้าท่องแล้ว เงินมันเข้ามามากขึ้น แล้วไม่รู้จัก "พอ" ก็มีสิทธิ์จ้ะ

คุณน้อง : เอ่อ... หลวงพี่คะ แล้วเคล็ดของหลวงพี่สมปอง...

สมีรี่ : แน่ะ... ชวนคุยเรื่องอื่นแล้วยังจำได้อีก เคล็ดวิชากระบี่ไร้ใจนี่ ขอยกยอดไปตอนหน้าก็แล้วกัน ตอนนี้ชักจะยาวใหญ่แล้ว เอางี้ เอาเคล็ดวิชารุ่นพ่อไปก่อน รู้ไหมทำไมหลวงพ่อพระราชพรหมยาน บริกรรมคาถานี้แล้ว มีผลมาก

คุณน้อง : ไม่ทราบค่ะ บารมีเก่าของท่านมั๊งคะ

สมีรี่ : ม่ายช่าย... คาถานี้มีเคล็ดวิชาอยู่ตรงที่ เวลาภาวนา จิตต้องปลอดกิเลส ต่างหาก ที่นี้ท่านสามารถเข้าฌานสมาบัติได้ เวลาเข้าฌาน ๔ หรือจตุตถฌานนั่น กิเลสโดยเหยียบแบนแต๊ดแต๋ บริกรรมเข้าไปตอนนั้น จึงมีผลมาก

images4

คุณน้อง : อ๋อ... อย่างนี้นี่เอง แล้วอย่างคุณน้องเข้าฌานไม่ได้ อย่างนี้ก็อดสิคะ

สมีรี่ : ไม่หรอก ทำไปเรื่อย ๆ นั่นละ คนเราหลอกกายได้ แต่หลอกจิตไม่ได้หรอก เราบอกวิธีบริกรรมให้กายมันทำ มันก็ไปพยายามทำตัวไม่ให้มีกิเลส ไม่โลภ ไม่หวังอะไร แต่จิตเรามันไม่เชื่อหรอก จิตมันยังมีกิเลส ยังโลภ ยังหวัง อยู่ลึก ๆ เราต้องทำไปเรื่อย ๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จิตจะค่อย ๆ ละความโลภ ละความหวัง จนจิตมันอุทานว่า เฮ้ย... ท่องไปไม่เห็นได้ผลเลยหว่ะ คนส่วนใหญ่มาถึงจุดนี้ ก็จะเลิกท่องไป อีกส่วนหนึ่งจะท่องต่อไป ด้วยไม่ได้หวังอานิสงส์อะไร หวังแค่ให้จิตเป็นสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน พวกหลังนี่้แหละจะบริกรรมแล้วได้ผล ทำถึงจุดหนึ่ง จะเข้าฌานไม่รู้ตัว

คุณน้อง : อื้อหือ... รายละเอียดเยอะจริง ๆ คุณน้องนึกว่า คุณน้องบริกรรมถูกต้องมาตลอดเลยนะคะเนี่ยะ นี่รู้สึกว่า จะผิดหมดเลยต่างหาก ต้องใช้ความเพียรมากเลยนะคะเนี่ยะ

สมีรี่ : ถูกแล้วล่ะ ไม่มีอะไรในโลกได้มาง่าย ๆ หรอก ต้องมีความเพียร ต้องขยันนะ

คุณน้อง : แล้วหลวงพี่จะยังไม่บอกเคล็ดของหลวงพี่สมปองจริง ๆ หรือคะ บอกซะเลยน่า...

สมีรี่ : โอ้ย... เมื่อยนิ้วแล้ว จะรีดกันให้นิ้วเคล็ดเลยใช่ไหมเนี่ยะ เอาเคล็ดสแตนดาร์ดเวอร์ชั่น ไปทำให้ดีเสียก่อนเหอะ ทำได้ก็รวยไม่รู้เรื่องแล้ว เดี๋ยวตอนหน้ามาว่ากันใหม่

คุณน้อง : โอเคค่ะ คุณน้องจะรอนะคะ (แอบกระซิบกับคนอ่าน) คุณ ๆ คะ หลวงพี่แกกั๊กอีกแล้วค่ะ รอติดตามอ่านตอนหน้านะคะ อิ อิ สงสัยจะเด็ดสะระตี่กว่าตอนนี้อีก

สมีรี่ : อะ-แฮ่ม... นินทาอะไร ได้ยินนะ

คุณน้อง : อร๊างงง... ถูกจับได้แระ กราบนมัสการลาเจ้าค่ะ

สมีรี่ : เจริญพร ซาโยนาระ อย่าลืมกลับไปท่องล่ะ ฯ

จบตอน ๒ cadit Dhammasarokikku

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
Design by suwanno วิทยุออนไลน์ |suwanno เว็บไชด์สำนักสงฆ์ไตรรงค์วิสุทธิธรรม | วิสุทธิธรรมเรดิโอ